ใช้มือไม่พัก ระวัง นิ้วล็อค - Vejthani Hospital

บทความสุขภาพ

ใช้มือไม่พัก ระวังนิ้วล็อก

Share:

อาการนิ้วล็อกส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ใช้มือทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การถือหรือแบกของหนักเป็นเวลานาน ใช้อุปกรณ์ที่ต้องออกแรงกดต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์มากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกได้ โดยมักพบบ่อยในกลุ่มคนที่มีอายุ 40 – 60 ปี และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

“นิ้วล็อก” อาการเบื้องต้นที่สังเกตได้
จะมีอาการโคนนิ้วปวดบวมตึง ข้อต่อนิ้วติดขัดในขณะเหยียดหรืองอ โดยอาการของโรคมักปรากฎมากในช่วงตื่นนอนตอนเช้าหรือตอนที่ใช้งานมือหนักต่อเนื่อง


ถ้ามีอาการข้อต่อบริเวณนิ้วแข็ง ติดขัด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยปัจจุบันแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษ พร้อมด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ โดยฉีดยาชาที่มือแล้วสอดเข็มเข้าไปบริเวณโคนนิ้วที่มีอาการ นิ้วล็อก จากนั้นใช้ปลายเข็มสะกิดปลอกหุ้มเอ็นนิ้ว ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่รัดเส้นเอ็นให้ขาดออกจากกันเหมือนการผ่าตัดปกติ ซึ่งจะใช้เวลาเพียง 5 นาที และสามารถโดนน้ำได้ตามปกติหลังครบ 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ นิ้วที่ผ่านการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวแล้วจะไม่กลับมาเป็นซ้ำ แต่หากยังไม่หยุดพฤติกรรมเสี่ยงก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดนิ้วล็อกกับนิ้วอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้รักษา

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2972, 2973

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (2 )
  • Your Rating