คำตอบคือ “จริง” เพราะในเพศหญิง จะมี ฮอร์โมนที่เรียกว่า โปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน : Progesterone and Obesity
โปรเจสเตอโรนมักเป็นฮอร์โมนอีกตัวหนึ่ง ที่มักจะพบปัญหาไม่สมดุลได้บ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยใกล้หมดประจำเดือน หรือ วัยหมดประจำเดือนไปแล้ว ซึ่งพบว่าช่วงวัยนี้ ผู้หญิงมักจะมีน้ำหนักเกินหรืออ้วนได้ง่ายทานนิดหน่อยก็น้ำหนักขึ้นแล้ว ก็เนื่องมาจากสาเหตุด้วงกล่าวข้างต้น
ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน เกี่ยวกับโรคอ้วนยังไงได้บ้าง ซึ่งมีหลายอย่าง ได้แก่
- ถ้าในร่างกายของเรามีโปรเจสเทอโรนที่พอดีและ ทำงานสมดุลกับเอสโตรเจนไม่ให้เกิด ภาวะเอสโตรเจนทำงานเด่น (Estrogen dominance) ซึ่งจะทำให้ร่างกายสะสมไขมันได้ง่าย จากการทำงานที่มากขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย
- ช่วยลดภาวะการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งทำให้ร่างกายสะสมไขมันเพิ่มขึ้นและเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวานได้
- ช่วยเรื่องการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ ทำให้การเผาผลาญในร่างกายดี
- ช่วยป้องกันการเกิดภาวะบวมน้ำ เนื่องจากออกฤทธิ์เป็นตัวขับปัสสาวะอ่อน ๆ
จะเห็นได้ว่า ผู้หญิงที่อยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือนหรือหมดประจำเดือนแล้ว จะมีอัตราการอ้วนสูงกว่าวัยหนุ่มสาว ซึ่งจะมีความยากในการลดน้ำหนักมากกว่า ดังนั้น การลดน้ำหนักโดยมีตัวช่วยอย่าง การใส่บอลลูนลดน้ำหนัก ด้วยการส่องกล้อง ลดน้ำหนักได้ถึง 24 กิโลกรัมใน 1 ปี ซึ่งจะช่วยลดปริมาณอาหารที่ทานเข้าไปได้ สอบถามการลดน้ำหนัก วางแผนลดน้ำหนักแบบสุขภาพดี ไปพร้อมๆ กันได้
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
โทร. 0-2734-0000 ต่อ 2960
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating