ใครบ้างมีความเสี่ยงภาวะ “ออฟฟิศซินโดรม”
- คนที่ต้องทำงานลักษณะเดิมหรืออยู่ในท่าทางเดิมต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน เช่น นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ขับรถนาน ๆ พนักงานบัญชี เป็นต้น
- ผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ในบริเวณกลุ่มกล้ามเนื้อที่มีการใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น ต้นคอ ไหล่ สะบัก หลัง บางครั้งมีอาการร้าวขึ้นศีรษะ ขมับ กระบอกตา ร้าวลงแขนหรือสะโพก หรือมีอาการคล้ายอาการชา ขนลุก วูบวาบผิวหนัง คลื่นไส้ เวียนศีรษะร่วมด้วย
- อาการปวดสัมพันธ์กับ #ความเครียด หรือช่วงที่ต้องทำงานมาก ๆ แต่ดีขึ้นในวันหยุดหรือเวลาไปเที่ยวพักผ่อน
- ผู้ที่ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการออกกำลังกายโดยการยืดเหยียดร่วมกับการออกกำลังแบบแอโรบิก ช่วยทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นและการไหลเวียนของเลือดภายในมัดกล้ามเนื้อดีขึ้น
ผู้ที่มีพฤติกรรมและอาการที่เข้าข่ายใน 4 ข้อนี้ ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง หากตรวจแล้วพบว่ามีภาวะกล้ามเนื้อเกร็งจากออฟฟิศซินโดรมก็สามารถรักษาได้ด้วยการกายภาพบำบัด ที่ปัจจุบันมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งหัวใจหลักของการรักษาคือการทำให้กล้ามเนื้อที่ขมวดเกร็งคลายออก โดยไม่เจ็บปวดขณะรักษา รวมถึงการเสริมสร้างกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
โดยเทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษา ยกตัวอย่างดังนี้
- Ultrasound diathermy ลดอาการปวด อักเสบ คลายกล้ามเนื้อ และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- Shock wave therapy ลดอาการปวด คลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการซ่อมแซมส่วนที่มีการบาดเจ็บภายในกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ
- High intensity laser therapy ช่วยลดอาการปวด บวม และอักเสบของเส้นเอ็น – กล้ามเนื้อ
- Magnetic stimulation หรือเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งคลื่นไฟฟ้าจะกระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวดและเส้นประสาทโดยตรง รวมถึงช่วยให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น
แพทย์จะแนะนำให้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ร่วมกับการกายภาพบำบัดวิธีอื่น ๆ เพื่อผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถเห็นผลและลดอาการปวดได้ตั้งแต่ครั้งแรกของการรักษา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
โทร. 0-2734 0000 ต่อ 2972, 2973
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating