อายุน้อยกว่า 35 ปี ก็เสี่ยงเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้ หากมีภาวะข้อสะโพกขาดเลือด

บทความสุขภาพ

อายุน้อยกว่า 35 ปี ก็เสี่ยงเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้ หากมีภาวะข้อสะโพกขาดเลือด

Share:

กระดูกข้อสะโพกขาดเลือด (Osteonecrosis of Hip) พบได้ในผู้ป่วยอายุ 30-50 ปี โดยมีโอกาสพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

สาเหตุหลักมาจาก

  • การใช้ยาสเตียรอยด์ (steroids) ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • เคยประสบอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อสะโพกรุนแรง
  • มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เม็ดเลือดผิดปกติ แต่ก็มีผู้ป่วยอีกร้อยละ 10 – 20 ที่ไม่พบสาเหตุ

สำหรับอาการของกระดูกข้อสะโพกขาดเลือด คือ

  • ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขาหนีบเมื่อเคลื่อนไหว
  • ปวดขาหนีบร้าวไปบริเวณต้นขาขณะเดินจนทำให้เดินไม่ถนัด
  • ปวดบริเวณสะโพกเมื่อขยับข้อสะโพก

“หากปล่อยไว้จะทำให้ข้อสะโพกยุบตัวและเกิดภาวะข้อสะโพกเสื่อมรุนแรงตามมา”

โดยหากพบว่าความรุนแรงของโรคทำให้ข้อสะโพกเสื่อมอย่างมากแล้ว แพทย์จะแนะนำการรักษาด้วยการผ่าตัด #เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ซึ่งเทคโนโลยีและเทคนิคการผ่าตัดในปัจจุบันมีความปลอดภัยสูง แผลเล็ก ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เสียเลือดน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวไว้ ลุกยืนได้ภายใน 6 ชั่วโมงหลังผ่าตัด และสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติหรือใกล้เคียงปกติเร็วขึ้น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ฟื้นฟูข้อเสื่อม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2222

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (3 )
  • Your Rating