หมดปัญหาเรื่องแผลเป็นเมื่อผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก

บทความสุขภาพ

หมดปัญหาเรื่องแผลเป็นเมื่อผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก

Share:

โรคต่อมไทรอยด์โต หรือที่รู้จักกันดีในชื่อโรคคอพอก ต้นเหตุหลักเกิดจากร่างกายขาดสารไอโอดีน และตามสถิติแล้วส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่วนด้านการรักษานั้นเมื่ออดีตแพทย์มักจะใช้วิธีการรักษาด้วยการให้รับประทานยา เพื่อกดต่อมฮอร์โมนให้ก้อนไทรอยด์ยุบหรือไม่โตขึ้น แต่มักจะไม่ค่อยได้ผลนัก ฉะนั้นทางเลือกสุดท้ายจึงไปลงเอยด้วยการผ่าตัดที่ทำให้เกิดรอยแผลเป็น ไม่สวยงาม สร้างความไม่มั่นใจ แต่ทว่าเรื่องเหล่านี้ กลายเป็นอดีตไปแล้ว เพราะทุกวันนี้วิวัฒนาการทางการแพทย์ที่เปลี่ยนไป ทำให้การผ่าตัดเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น นวัตกรรมใหม่การผ่าตัดส่องกล้องไทรอยด์ทางช่องปากแบบไร้แผล ไร้แผลเป็น ทำให้ผู้รักษาเปี่ยมด้วยความมั่นใจเหมือนเดิม

วิธีการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปากโดยไร้แผลเป็น

เบื้องต้นการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องเข้าพักเพื่อทำการเตรียมพร้อมในโรงพยาบาลก่อน 1 คืน ก่อนเข้าห้องผ่าตัดในวันรุ่งขึ้น คนไข้จะอยู่ในท่านอนหงาย แหงนคอเล็กน้อย นำยาสลบโดยวิสัญญีแพทย์ และใส่ท่อช่วยหายใจ แล้วทำความสะอาดช่องปากโดยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแบบพิเศษจากนั้นแพทย์จะเจาะรูเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณตรงกลาง 1 รู ที่บริเวณรอยต่อของริมฝีปากล่างกับเหงือกของฟันล่างและด้านข้าง 0.5 เซนติเมตรอีก 2 รู และเลาะจากรูที่เจาะในปากลงไปใต้ผิวหนังยาวลึกลงไปถึงต่อมไทรอยด์ที่อยู่บริเวณคอประมาณ 10 เซนติเมตร โดยใช้อุปกรณ์ที่คิดค้นมาเป็นพิเศษในการผ่าตัด ซึ่งจะใช้ผ่านกล้องสามมิติ และมีเครื่องมือเพื่อสอดเข้าไปผ่าตัดไทรอยด์ที่อยู่บริเวณคอตัดและคีบต่อมไทรอยด์ออกจากรูในช่องปากที่สร้างไว้ โดยแพทย์จะรอดูอาการประมาณ 3 – 4 วัน หากไม่มีปัญหาก็จะให้กลับบ้านได้ หลังผ่าตัดคนไข้ก็ไม่ต้องทำแผลใด ๆ แผลที่เย็บไว้ในปาก ไหมจะละลายไปเองภายใน 30 วัน ในช่วงนี้คนไข้สามารถใช้ชีวิตและรับประทานอาหารได้ตามปกติ

การผ่าตัดวิธีนี้ถือว่าเป็นที่น่าพอใจอยู่ในขณะนี้ เนื่องจาก

  1. เมื่อทำการผ่าตัดไม่มีแผลเป็นเลย
  2. หลังการผ่าตัดฟื้นตัวเร็ว บาดเจ็บน้อย
  3. หายเร็วสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

ก่อนหน้านี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัด เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็น ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดไทรอยด์ที่คอชนิดแผลเล็ก แต่ก็ยังมีแผลเป็นให้เห็นอยู่ ต่อมาได้มีการพัฒนาการผ่าตัดผ่านกล้องวิดิทัศน์หลาย ๆ วิธี เช่น ลงแผลที่รักแร้ หน้าอก หรือแม้แต่กระทั่งหัวนม เป็นต้น โดยการผ่าตัดผ่านกล้องโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็นที่คอ ซึ่งจะเห็นได้ชัด และทำให้คนไข้เกิดความไม่มั่นใจ

ทั้งนี้ การพัฒนาเทคนิคในการผ่าตัดผ่านกล้องผ่านทางช่องปากในคน ริเริ่มโดยศัลยแพทย์ชาวเยอรมันในปี 2555 ต่อมาได้มีศัลยแพทย์ชาวญี่ปุ่นและจีนได้เริ่มทำการผ่าตัดชนิดนี้ แต่เป็นคนละเทคนิค แต่สำหรับประเทศไทยเริ่มนำเข้ามาใช้ในการผ่าตัดเมื่อช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา และถือว่าทันสมัยที่สุดในขณะนี้

โดย…

http://health.sanook.com/

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (3 )
  • Your Rating




บทความที่เกี่ยวข้อง