“แพ้ยา” อันตรายกว่าที่คิด - โรงพยาบาลเวชธานี

บทความสุขภาพ

“แพ้ยา” อันตรายกว่าที่คิด

Share:

มีประวัติแพ้ยาหรือเปล่าคะ?” คงเป็นประโยคที่ผู้มาใช้บริการในสถานพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา มักได้ยินเป็นประจำ โดยเฉพาะในโรงพยาบาล ทั้งตอนลงทะเบียน รอพบคุณหมอ หรือจนกระทั่งมารับยา เราจะมาไขคำตอบว่า ทำไมบุคลากรทางการแพทย์ จึงต้องถามประวัติแพ้ยาบ่อยขนาดนี้

แพ้ยา คืออะไรกันนะ

การแพ้ยา คือการที่ร่างกายของเรามองว่ายาที่เรารับประทานเข้าไป เป็นสิ่งแปลกปลอม จึงสร้างปฏิกิริยาต่อต้าน และแสดงออกมาในลักษณะของอาการแพ้

การแพ้ยานั้น ไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ โดยทั่วไปการแพ้ยาครั้งแรกนั้นอาการจะไม่รุนแรงมาก อาจพบแค่ผื่นคันตามร่างกายเล็กน้อย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันพึ่งถูกกระตุ้น แต่สิ่งที่อันตรายมากกว่าคือ การแพ้ยาตัวเดิมซ้ำ เพราะระบบภูมิคุ้มกันของเราพร้อมจะโจมตียาที่เราแพ้อยู่แล้ว เมื่อได้รับยาซ้ำจะเกิดอาการแพ้เฉียบพลันที่มีความรุนแรงมากกว่าเดิม เช่นความดันโลหิตตก ร่วมกับมีทางเดินหายใจบวมจนหายใจไม่ได้ หรือที่เรียกว่า Anaphylaxis Shock

อันตรายที่เกิดจากการแพ้ยา

ไม่อยากแพ้ยาทำอย่างไรดี

เราต้องหมั่นสังเกตอาการผิดปกติ หากต้องใช้ยาชนิดใหม่ที่ไม่เคยรับประทานมาก่อน และหากพบอาการผิดปกติที่แสดงถึงอาการแพ้ จะต้องรีบหยุดยา เก็บตัวอย่างยา หรือจดชื่อยาเอาไว้ และนำไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร นอกจากนี้ อาจถ่ายรูปผื่น หรืออาการผิดปกติที่มองเห็นได้เก็บไว้ระหว่างที่จะไปพบแพทย์ แต่หากมีอาการรุนแรงต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 5 นาที จนถึง 2-3 เดือนหลังจากเริ่มรับประทานยา

ลักษณะอาการแพ้ที่สามารถพบได้

  • ผื่นตามร่างกาย
  • ผื่นลมพิษ
  • ตาบวม ปากบวม
  • แผลที่เยื่อบุต่าง ๆ
  • ผิวหนังหลุดลอก
  • ทางเดินหายใจตีบ
  • หมดสติ ช๊อก

ผลข้างเคียงจากยา คือ ผลจากการออกฤทธิ์ของยาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษา เช่น อาการง่วงนอน จากยาแก้แพ้ แผลในกระเพาะจากการกินยาแก้ปวดบางชนิด หรืออาการหน้ามืดเวียนศีรษะจากยาลดความดันโลหิต

แพ้ยา รักษาให้หายขาดได้หรือไม่

สำหรับคนที่เคยมีประวัติแพ้ยาแล้ว วิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันการแพ้ยาได้ก็คือ การหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เคยแพ้ไปตลอดชีวิต แต่หากมีความจำเป็นในการใช้ยาตัวดังกล่าวในการรักษาโรค แพทย์อาจแนะนำกระบวนการลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ที่เรียกว่า Drug Desensitization โดยเป็นการให้ยาที่เป็นสาเหตุของการแพ้กลับสู่ร่างกาย ในขนาดที่ต่ำมาก ๆ ทีละน้อย ด้วยระยะเวลาที่เหมาะสม ที่จะไม่ทำให้ภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้น และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณยาขึ้นจนไปสู่ขนาดการใช้ยาปกติ ซึ่งต้องทำการรักษาภายใต้การดูแลขอแพทย์อย่างใกล้ชิด ภายในสถานที่ที่มีอุปกรณ์กู้ชีพครบครัน และต้องได้รับการประเมินจากแพทย์ก่อนว่า มีความจำเป็นมากขนาดไหนในการทำ Drug Desensitization รวมถึงการประเมินสภาวะของผู้ป่วยและชนิดของการแพ้ยาที่เกิดขึ้นด้วย

บัตรแพ้ยาสำหรับผู้ป่วย

โดยสรุปแล้ว การแพ้ยานั้น สามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และคาดการณ์ไม่ได้ แต่สิ่งที่เราจะทำได้ คือการป้องกันไม่ให้เกิดการแพ้ยาซ้ำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น เราต้องให้ความสำคัญในการให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเกี่ยวกับการแพ้ยา โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเคยแพ้ยามาก่อน ควรจดจำชื่อยาที่ตนเองแพ้ และจดชื่อยารวมถึงอาการแพ้ติดตัวไว้เสมอ และแสดงข้อมูลหรือบัตรแพ้ยาทุกครั้งที่ไปรับบริการสุขภาพ และหากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ทำให้เราหมดสติ หรือไม่สามารถพูดได้ บัตรแพ้ยานี่แหละ จะเป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันเราจากการแพ้ยาซ้ำได้

  • Readers Rating
  • Rated 4.8 stars
    4.8 / 5 (3 )
  • Your Rating




บทความที่เกี่ยวข้อง