ปรับสภาพแวดล้อมให้เป็นระบบ ก่อนไข้เลือดออกระบาด - โรงพยาบาลเวชธานี

บทความสุขภาพ

ปรับสภาพแวดล้อมให้เป็นระบบ ก่อนไข้เลือดออกระบาด

Share:

โดย โรงพยาบาลเวชธานี

ย้ำกันมาเรื่อยๆ สำหรับการระบาดของไข้เลือดออกที่มาตั้งแต่ต้นปี จนกระทั่งช่วงนี้ที่เข้าสู่หน้าฝนอย่างเต็มตัวแล้ว ความเฉอะแฉะที่มาพร้อมกับความอับชื้น นอกจากจะสร้างปัญหาสุขภาพจนป่วยเป็นไข้หวัดกันก็มากอยู่แล้ว โรคไข้เลือดออกก็นับว่าเป็นขาประจำที่แวะเวียนมาพร้อมระบาดสู่คนที่ร่างกายอ่อนแอได้ง่ายๆ

สิ่งแรกที่ทุกคนนั้นทราบกันดีว่าไข้เลือดออกนั้นจะมาพร้อมกับพาหะนำโรคก็คือ ยุงลาย ที่นอกจากจะคอยกัดดูดเลือดเราแล้ว ก็ยังนำเชื้อไวรัสเดงกี่มาด้วย ซึ่งยุงลายนั้นก็มีถึง 4 สายพันธุ์ ที่สามารถก่อให้เกิดโรคและความรุนแรงได้ทั้งสิ้น ดังนั้นสิ่งที่ควรป้องกันอันดับแรกก็คือ ต้องเทภาชนะที่มีน้ำขังออก เพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์ของยุงลาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อีกทั้งควรกำจัดยุงลายด้วยทรายอาเบตลงในภาชนะที่ใส่น้ำขังด้วย

การยับยั้งไม่ให้ยุงลายแพร่พันธุ์ไปมากกว่านี้ จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุและได้ผลที่สุด ซึ่งตัวเราเองก็ต้องปรับสภาพแวดล้อมที่เราอยู่อาศัยให้ถูกต้อง พยายามอย่าให้มีมุมอับ หรือจุดที่มีความชื้น และน้ำขัง เพราะจะกลายเป็นแหล่งที่ยุงลายเพราะพันธุ์ได้รวดเร็ว ทั้งนี้ในกรณีที่เกิดเป็นไข้เลือดออกแล้วประมาณ 90% จะไม่มีแสดงอาการ แต่บางส่วนจะมีอาการที่แสดงออกมาให้เห็นอยู่ 3 กลุ่ม คือ

  1. มีไข้ 2-3 วัน และมีผื่นตามตัว ซึ่งเกิดจากการเป็นไข้ไวรัส
  2. มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดหัว เมื่อยตามตัว มีจุดเลือดขึ้นตามผิวหนัง บางรายอาจพบเกล็ดเลือด และเม็ดเลือดขาวต่ำ
  3. มีอาการไข้สูง 2-7 วัน เลือดออกที่ผิวหนัง ตับโต มีการรั่วของพลาสมา หรือน้ำเหลืองออกเส้นเลือด

เมื่อเป็นโรคไข้เลือดออกแล้ว การรักษาผู้ป่วยจะต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อตรวจปริมาณเกล็ดเลือดและระดับความเข้มข้นของเลือด โดยในระยะแรก ต้องหมั่นเช็ดตัวเพื่อลดไข้ และถ้าเป็นเด็ก ต้องระวังเรื่องอาการชัก และควรให้ยาลดไข้อย่างรอบคอบในเวลาที่มีไข้สูงเท่านั้น ไม่ควรใช้ยาพวกแอสไพริน และอีบูเทอเฟน เนื่องจากเสี่ยงต่อภาวะเลือดออก ควรให้ พาราเซตามอลแทน

ในกรณีที่เริ่มเข้าสู่ระยะวิกฤตหรือระยะที่มีการรั่วของพลาสมา เบื่ออาหาร ไม่ดื่มน้ำ ถ่ายปัสสาวะน้อย อาเจียนมาก ปวดท้องรุนแรง ซึม มือเท้าเย็น ซึ่งอาจเป็นภาวะช็อก ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เพื่อเฝ้ารอดูอาการจากแพทย์ตลอดเวลา ไม่ควรพาผู้ป่วยกลับบ้านเด็ดขาด

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (2 )
  • Your Rating




บทความที่เกี่ยวข้อง