- Readers Rating
- Rated 3.3 stars
3.3 / 5 (Reviewers) - Very Good
- Your Rating
ต่อมไทรอยด์เป็นหนึ่งในต่อมไร้ท่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบเมตาบอลิซึมและการควบคุมหลายด้านของร่างกาย ต่อมนี้ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าของคอ อยู่ใต้กล่องเสียงและห่อหุ้มหลอดลม มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ โดยประกอบด้วยโลบสองข้างที่เชื่อมต่อกันด้วยส่วนที่เรียกว่า “isthmus” ต่อมไทรอยด์มี 2 ข้าง น้ำหนักประมาณ 15 – 25 กรัม
หน้าที่ของต่อมไทรอยด์: ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่หลักคือการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งมีผลต่อการเผาผลาญในร่างกาย หน้าที่หลัก ๆ ของฮอร์โมนไทรอยด์ ได้แก่ :การควบคุมอัตราเมตาบอลิซึม ที่ช่วยในการควบคุมอัตราการเผาผลาญและการใช้พลังงานในร่างกายช่วยเรื่องการเจริญเติบโตและการพัฒนาของร่างกาย โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นช่วยในการควบคุมการทำงานของระบบประสาท โดยมีผลต่อความว่องไวและระดับการตื่นตัว การควบคุมอุณหภูมิร่างกายและมีบทบาทในการควบคุมระดับไขมันในเลือด
การทำงานของต่อมไทรอยด์: การทำงานของต่อมไทรอยด์ถูกควบคุมโดยระบบฮอร์โมนซึ่งรวมถึงการควบคุมจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ซึ่งปล่อยฮอร์โมน TSH ฮอร์โมน TSH นี้จะกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ เมื่อระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูงพอ จะมีการส่งสัญญาณยับยั้งกลับไปยังต่อมใต้สมองเพื่อลดการผลิต TSH จึงเป็นการรักษาระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดให้คงที่
โรคไทรอยด์คือภาวะที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ซึ่งอาจเกิดจากการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปหรือน้อยเกินไป หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของต่อมเอง เช่น การขยายตัวหรือการมีก้อน โรคไทรอยด์สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพโดยรวม เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์มีบทบาทสำคัญต่อระบบเมตาบอลิซึมและกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย
โรคไทรอยด์สามารถรักษาได้โดยระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยแนวทางการรักษาโรคไทรอยด์มีดังนี้:
ใช้ในการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) โดยยับยั้งการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์
ใช้ในการทำลายเซลล์ของต่อมไทรอยด์เพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น ในการรักษาโรค Graves’ disease, ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ที่ไม่ใช่มะเร็ง (Nontoxic Nodular Goiter) และมะเร็งต่อมไทรอยด์
ใช้ควบคุมการเต้นของหัวใจให้อยู่ในระดับปกติ ลดอาการใจสั่นและเหนื่อยง่ายในผู้ป่วยโรคไทรอยด์
ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ และก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (ทั้งกรณีที่เป็นและไม่เป็นมะเร็ง) ปัจจุบันมีวิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้องทางช่องปากซึ่งได้รับความนิยมเพราะเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีและปลอดภัย
ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) หรือผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออก รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องการกดการเจริญเติบโตของเซลล์ในต่อมไทรอยด์
วิธีการรักษาใหม่ล่าสุดที่ใช้คลื่นไมโครเวฟทำลายเนื้องอกไทรอยด์ (Thyroid Nodule) โดยไม่ต้องผ่าตัด ฟื้นตัวไว เจ็บน้อย และไม่ต้องทานยา
การผ่าตัดไทรอยด์แต่เดิมนั้น มักจะมีแผลเป็นขนาดใหญ่และเด่นชัดบริเวณลำคอ ทำให้ผู้ป่วยขาดความมั่นใจในด้านภาพลักษณ์หลังการผ่าตัด ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดแบบไร้แผล (Scarless Thyroidectomy) เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยหลังผ่าตัด เนื่องจากไม่มีรอยแผลเป็นภายนอกให้กังวลใจแต่อย่างใด
ข้อดี ของการผ่าตัดไทรอยด์ไร้แผล นั่นก็คือ ไม่มีแผลเป็นบริเวณลำคอ / ผ่าตัดผ่านกล้องด้วยเทคโนโลยีภาพ 4K ทำให้เห็นอวัยวะสำคัญได้ชัดเจนระหว่างผ่าตัด / แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก บาดเจ็บน้อย ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้เร็ว
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) มีลักษณะคล้ายผีเสื้อ อยู่ใต้ลูกระเดือกบริเวณด้านหน้าของลำคอ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย หากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเผาผลาญมากผิดปกติและร่างกายเสื่อมโทรมได้ง่าย โดยพบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อ่านต่อ…
ไทรอยด์คือต่อมที่อยู่บริเวณด้าหน้าลำคอ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญ อุณหภูมิ กล้ามเนื้อ อารมณ์และความรู้สึกของร่างกาย หากต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติมักจะเกิดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ โดยก้อนจะขยับขึ้น – ลงตามจังหวะการกลืนน้ำลาย พบได้ทั้งก้อนเดี่ยวหรือหลายก้อน หากผู้ป่วยมีรูปร่างผอมบางจะทำให้สังเกตเห็นก้อนได้ชัดเจนขึ้น อ่านต่อ…
“ไทรอยด์” เป็นหนึ่งในต่อมไร้ท่อที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับระบบต่าง ๆ ฉะนั้นแล้วหากการทำงานของต่อมไทรอยผิดปกติ จึงมักส่งผลกระทบต่ออวัยวะแทบทุกระบบในร่างกาย อ่านต่อ…
ก้อนเนื้องอกจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด มักพบในกลุ่มเด็กมากกว่าผู้สูงอายุ โดยอาจพบได้ตั้งแต่แรกคลอด ซึ่งอาจจะแบ่งเป็นก้อนซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบหลอดเลือดหรือระบบท่อนำ้เหลือง และก้อนที่เกิดจากระบบอื่น ๆ อ่านต่อ…
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ เป็นหนึ่งในการรักษาหลักของโรค ซึ่งอาจเป็นการผ่าตัดเอาไทรอยด์ออกบางส่วน หรือผ่าตัดออกทั้งต่อมก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของก้อนเนื้อ และความรุนแรงของโรค อ่านต่อ…
ไทรอยด์ เป็นโรคที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่แค่ในผู้ใหญ่เท่านั้นแต่เด็กก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกันโดยฮอร์โมนไทรอยด์มีผลต่อร่างกายแทบทุกระบบ ดังนั้นเมื่อฮอร์โมนไทรอยด์มีความผิดปกติ จึงทำให้แสดงอาการที่บ่งบอกโรคค่อนข้างหลากหลาย อ่านต่อ…
คลำเจอก้อนบริเวณคอต้องรีบพบแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ หากไม่รีบรักษาอาจแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือและกระดูก แต่รักษาให้หายขาดได้ 70 – 80% มะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในต่อมไทรอยด์กลายเป็นเนื้อร้าย ซึ่งมะเร็งไทรอยด์มักจะเริ่มเป็นก้อนที่บริเวณต่อมไทรอยด์ ก่อนที่จะโตขึ้นเรื่อย ๆ หรือมีจำนวนก้อนเพิ่มขึ้น หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เชื้อมะเร็งแพร่กระจายไปส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ อ่านต่อ…
กรุณาใส่รายละเอียดทางการแพทย์ และประวัติทางการแพทย์ของท่านให้ครบถ้วนที่สุด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ของเราให้คำปรึกษาได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น
Hotline 02 734 0000