ย้อนกลับไปตอนอายุประมาณ 11 ขวบ คุณแม่เห็นน้องก้มตัดเล็บ แล้วรู้สึกว่าหลังของน้องไม่เท่ากัน ข้างนึงสูง ข้างนึงต่ำ ก็เลยถ่ายรูปแล้วปรึกษาเพื่อนที่เป็นพยาบาล เพื่อก็แนะนำว่าให้เข้ามาพบแทพย์ด้านกระดูก ตอนแรกก็รักษาด้วยการใส่เบรซ แต่ก็ยังไม่ดีขึ้น และก็ทำกิจกรรมได้น้อยลง ทางคุณแม่ก็หาข้อมูล และได้มาเจอโรงพยาบาลเวชธานี ก็ได้เข้ามาพบแพทย์ คุณหมอให้คำแนะนำและข้อมูลได้ดีมาก ๆ เราเลยมั่นใจและโอเคกับที่นี่ที่สุด หลังจากการผ่าตัดก็คือวันแรกสามารถลุกเดินได้เลย วันที่สองก็เดินได้แบบไม่ต้องใช้ไม้เท้าพยุงเลยค่ะ
คุณพ่อคุณแม่เริ่มเห็นอาการตั้งแต่ตอนที่เราอายุ 12 ปี คือหลังของเราจะมีนูน ๆ ออกมาด้านขวา เวลาเดินก็จะรู้เลยว่าหลังเรามันไม่เท่ากัน แล้วยิ่งเวลาใส่เสื้อผ้ารัดรูปก็จะยิ่งเห็นชัดเลยค่ะ คุณพ่อคุณแม่ก็วิตกกังวลว่าเกิดอะไรขึ้น เลยเข้ามา X-ray โรงพยาบาลที่แรกเพื่อหาสาเหตุ แต่ไม่ว่าจะกายภาพเท่าไหร่ก็ยังไม่ดีขึ้น คุณแม่เลยตัดสินใจหาข้อมูลในเน็ต จนมาเจอโรงพยาบาลเวชธานี ตอนเข้ามาพบคุณหมอ ต้องบอกเลยว่าคุณหมอให้คำปรึกษาที่ดีมาก ๆ ทำให้เรามั่นใจและเชื่อมั่นในการที่จะเข้ารับการผ่าตัด หลังจากการผ่าตัดก็มีอาการเมื่อยนิดหน่อยค่ะ แต่ไม่ได้เจ็บมาก หลังจากนั้นอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไป เรามั่นใจมากขึ้นด้วยค่ะ
คุณพ่อมีอาการปวดหลังอย่างต่อเนื่อง จึงไปหาหมอใกล้บ้าน ทั้งฉีดยา ทานยา กายภาพบำบัด แต่อาการปวดก็ยังไม่ดีขึ้น จึงทำการเอกซเรย์และพบว่ามีภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทค่อนข้างรุนแรง หมอแนะนำให้ผ่าตัด ลูกสาวก็เลยหาข้อมูลเพิ่มเติมใน Internet จนมาเจอโรงพยาบาลเวชธานี และนัดหมายเข้าพบคุณหมอภัทร ซึ่งคุณหมออธิบายว่า พ่อเป็นหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ที่เกิดจากภาวะกระดูกเสื่อม ซึ่งคุณหมอก็มีวิธีการรักษาให้เราเลือก แต่เราสนใจวิธีการผ่าตัดที่จะทำให้อาการปวดหายไปเลย ซึ่งคุณหมอภัทรอธิบายว่า จะเปลี่ยนหมอนรองกระดูกที่เสื่อม 2 ข้อ และรับรองว่าคุณพ่อจะเดินได้ตั้งแต่วันที่ 2 หลังผ่าตัด อีกทั้งยังมีอัตราความเสี่ยงเพียงแค่ 1% คุณพ่อกับลูกสาวก็เลยเลือกการผ่าตัด เพราะพ่ออายุเยอะแล้ว อยากให้หายเลย โดยหลังผ่าตัดคุณพ่อนอนพักเพียง 1 วัน ก็สามารถลุกเดินได้ในวันถัดมาตามที่แพทย์บอกจริง ๆ ทำให้รู้สึกประทับใจทั้งกับตัวแพทย์และการดูแลของโรงพยาบาล
ก่อนหน้านี้ประมาณปีกว่า กระดูกสันหลังคดงอไปด้านซ้าย ทำให้มีอาการปวดมาก ๆ บริเวณช่วง เอว สะโพก ร้าวลงขา เวลาเดินก็จะมีลักษณะไหล่เอียงด้วย เราก็เลยมาหาคุณหมอที่โรงพยาบาลเวชธานี ทางคุณหมอก็แนะนำว่าให้ผ่าตัด ด้วยความที่เรามั่นใจในตัวคุณหมอ เลยตัดสินใจผ่าตัด เพราะเราเองก็อยากจะหาย ซึ่งหลังจากการผ่าตัด ก็รู้สึกตึง ๆ เล็กน้อย แต่ไม่เจ็บ ไม่ปวดอะไรเลย ดีกว่าก่อนผ่าตัดเยอะมากเลยครับ เพราะก่อนผ่าตัดเราเดินแทบไม่ได้เลย เดินแล้วจะปวดหลัง แต่พอผ่าตัดแล้ว เราเดินได้สบายและไม่ปวดหลังอีกด้วย
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า สังคมก้มหน้า และไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าเป็นคำพูดเกินจริง เพราะการพกพาเครื่องมือสื่อสารประเภท สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ถือเป็นเรื่องปกติของสังคมปัจจุบัน และผู้คนส่วนใหญ่มักใช้เวลาหลายชั่วโมงกับหน้าจอ โดยไม่รู้เลยว่าพฤติกรรมคุ้นชินเหล่านี้ อาจส่งผลร้ายตามมาโดยไม่รู้ตัว
ปวดหลัง เรื้อรัง ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงวัยเพียงเท่านั้น เพราะพบได้มากขึ้นในทุกช่วงอายุ โดยพบว่ากลุ่มช่วงอายุที่มีอัตราการเกิดภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมสูง ได้แก่กลุ่มคนอายุน้อยที่มีการทำกิจกรรมหนักๆ หรือคนสูงอายุที่ร่างกายมีความเสื่อมโทรมตามวัย
มีคนไข้หลายคนที่พอรู้ตัวว่าต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง ก็เกิดความเครียดและกลัวการรักษา แม้ว่าการผ่าตัดกระดูกสันหลังเป็นการผ่าตัดใหญ่ และบริเวณกระดูกสันหลังนั้นเต็มไปด้วยเส้นประสาทที่สำคัญมากมาย จึงทำให้หลายคนกังวลว่าอาจเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตจากการผ่าตัดได้
ปวดหลัง ปวดคอ จากโรคกระดูกสันหลัง เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท ฯลฯ อาการปวดมักรุนแรง ผู้ป่วยหลายรายปวดจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เลย การฉีดยาเข้าโพรงประสาทสันหลัง จึงเป็นทางเลือกรักษาที่แพทย์จะเลือกใช้กัน
พฤติกรรมที่ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาทได้ ไม่ได้เกิดจากการยกของหนัก หรือนั่งนานอย่างเดียว การไอ-จามแรงบ่อย ๆ ทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นได้เช่นกัน
ปรับระยะนั่งใกล้-ไกล เริ่มจากเลื่อนเบาะมาด้านหน้า ปรับระยะการนั่งที่เหมาะสมก่อน ให้เท้าเหยียบเบรกได้จม เหยียบคันเร่งได้สะดวก และเหยียบได้ถนัดที่สุด
ความเสื่อมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เช่น เดียวกับข้อเสื่อมที่เกิดขึ้นได้กับทุกข้อต่อของร่างกายที่ใช้ในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะกระดูกคอ ซึ่งเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวเกือบรอบด้าน ไม่ว่าจะก้ม เงย เอียงคอ หมุนคอ จึงทำให้เสื่อมหรือบาดเจ็บได้ง่าย
2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการเพิ่มขึ้นของมุมที่คด มีดังนี้ นั่ง/นอนผิดท่า การนั่งหรือนอนแบบผิดท่าจะทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและกระดูกสันทำหน้าที่หนักขึ้น
“ภาวะกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่น” เป็นความผิดรูปของกระดูกสันหลังที่พบได้ค่อนข้างบ่อย โดยปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด โดยอาการจะเริ่มพบได้ในช่วงเริ่มต้นของวัยรุ่น คืออายุราว 10-11 ปี และความคดจะเพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของกระดูกสันหลัง กล่าวง่าย ๆ คือจะมีความคดมากขึ้นเรื่อย ๆ
โดยปกติกระดูกสันหลังจะเสื่อมได้จากการใช้งาน และอายุที่เพิ่มมากขึ้นอยู่แล้ว โดยเฉพาะช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป อาการเริ่มต้นของความเสื่อม เช่น อาการปวดคอ หรือปวดหลังส่วนเอว แต่สำหรับใครที่มีภาวะกระดูกสันหลังคดด้วยแล้ว จะมีปัญหากระดูกจะเสื่อมได้ง่ายได้กว่าคนทั่วไป เพราะว่าการบิดหมุนที่ผิดปกติของกระดูกสันหลัง ทำให้การกระจายน้ำหนักเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ นั้นจะเกิดความไม่สมดุลเท่าที่ควร
สำหรับผู้ป่วยที่มีความคดไม่เกิน 20 – 25 องศา ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการปวด แพทย์จะแนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสม
ผ่าตัดกระดูกสันหลังคดแล้วจะสูงขึ้นไหม คำถามนี้เป็นคำถามยอดนิยมคำถามหนึ่ง เมื่อมีผู้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคดมาขอคำปรึกษาเรื่องการผ่าตัด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าบุคลิกภาพ มีส่วนสำคัญกับหน้าที่การงาน ถ้าหากเกิดความผิดปกติต่อกระดูกสันหลังของเรา มันก็จะมีผลต่อบุคลิกภาพ และการใช้ชีวิตประจำวันของเรา เพราะฉะนั้นอาการกระดูกสันหลังคด เราควรที่จะรีบรักษา ก่อนจะสายเกินแก้
สำหรับอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังของผู้สุงอายุ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญและควรใส่ใจ เพราะว่าอาจส่งผลที่อันตรายรุนแรงที่คาดไม่ถึง วันนี้คุณวุ้นเส้น วิริฒิพา ภักดีประสงค์ จะพาไปทำความรู้จักกับ ‘โรคกระดูกสันหลังทรุดในผู้สูงอายุ’ กับ นพ. ภัทร โฆสานันท์
บางครั้งการที่เราทำบางอย่างในท่าเดิมนาน ๆ ก็อาจทำให้เราปวดเมื่อยได้ เช่น การก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ พฤติกรรมนี้ อาจเสี่ยงให้เกิด ‘โรคกระดูกหลังส่วนคอเสื่อม’ วันนี้คุณโบ สุรัตนาวี สุวิพร และ นพ.ภัทร โฆสานันท์ จะพาไปทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น
ผู้ป่วยบางรายมีความคดไม่เยอะมากนักแต่ก็ทำให้ขาดความมั่นใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ขณะที่ผู้ป่วยบางรายที่มีกระดูกสันหลังคดเยอะขึ้นจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อร่วมด้วย หากกรณีมีมุมคดเยอะเพิ่มขึ้นจะมีอาการต่ออวัยวะในระบบอื่นๆ มีการเบียดทับเส้นประสาทได้
กรุณาใส่รายละเอียดทางการแพทย์ และประวัติทางการแพทย์ของท่านให้ครบถ้วนที่สุด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ของเราให้คำปรึกษาได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น
Hotline 02 734 0000