การใส่แว่นสำหรับคนที่มีปัญหาสายตาสั้น ยาว หรือเอียงนั้น สำหรับบางคนอาจไม่ใช่สิ่งที่ชอบนัก เพราะทำให้วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ ที่เคยทำตอนไม่ใส่แว่นหายไป จะเล่นกีฬา แต่งหน้าสวย อ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ก็กลาย เป็นอุปสรรค เพราะสายตานั้นเปรียบเสมือนกล้องถ่ายรูป ซึ่งเลนส์อาจมี ความเสื่อมหลายจุดทั้งด้านหน้าและด้านหลังตามระยะเวลา และสายตาคนเราไม่ได้คงที่ไปตลอดชีวิต อย่างในเด็กแรกเกิดจะสายตายาวและมองเห็นได้แค่ริมฝีปากของแม่ แต่พอเริ่มโตขึ้นกระบอกสายตาขยายก็จะทำให้ ภาวะสายตามีความพอดี แต่ทั้งนี้ถ้ามีกรรมพันธุ์ของความผิดปกติทางสายตาหรือมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น พฤติกรรมการเล่นคอมพิวเตอร์ ไอแพดหนัก ๆ ฯลฯ ก็อาจทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นก่อนวัยได้
ส่วนภาวะสายตายาวในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อม่านตาล้าและเลนส์ตาเริ่มเปลี่ยนแปลง เปรียบเสมือนกล้องถ่ายรูปไม่สามารถซูมเข้าได้ ทำให้มองระยะอ่านหนังสือไม่ชัด ในบางท่านสามารถฝึกบริหารกล้ามเนื้อตาให้แข็งแรงด้วยการฝึกมองตัวหนังสือในระยะใกล้-ไกล
ทั้งนี้ ปัญหาสายตาที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะมีวิธีแก้ด้วยการใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่คำตอบเดียวที่ดีที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่มีอุปสรรคในการใช้ชีวิตทั้งไลฟ์สไตล์ที่ชอบเล่นกีฬา หรือาชีพที่ต้องอาศัยบุคลิกภาพที่ดี รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดตาแห้งจากการใส่คอนแทคเลนส์ โดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เผยว่า พัฒนาการด้านการรักษาสายตาเดิมทีเริ่มจากการใส่แว่น ต่อมาก็เป็นคอนแทคเลนส์แต่สำหรับเด็กยังค่อนข้างอันตราย เพราะใช้กันอย่างผิดวิธี และหาซื้อได้ง่ายไม่เหมือนในต่างประเทศที่จะต้องมีแพทย์จะต้องเป็นผู้อนุมัติให้ซื้อเพราะเป็นอุปกรณ์ที่สัมผัสกับกระจกตา การรักษาสายตามีหลายวิธีการทำเลสิกจึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่ไม่อยากใส่แว่นตา และคอนแทคเลนส์ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีเทคโนโลยีการทำเลสิกที่สะดวก รวดเร็ว มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสามารถวิเคราะห์ให้แน่ชัดว่าภาวะสายตาผิดปกติชนิดใดควรรักษาแบบไหน เช่น
พีอาร์เค (PRK : Photorefractive Keratectomy)
การรักษาภาวะสายตาผิดปกติ แบบไม่มีการตัดแยกชั้นกระจกตา เหมาะกับผู้ที่มีตาแห้ง หรือกระจกตาบาง โดยแพทย์จะทำการลอกผิวกระจกตาชั้นบนด้วยอุปกรณ์หรือสารเคมี จากนั้นจึงใช้เครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ เป็นเทคโนโลยีใหม่ยิงเลเซอร์ความเร็วสูง เพื่อปรับความโค้งกระจกตาแล้วปิดแผลด้วยคอนแทคเลนส์ รอให้ผิวกระจกตาด้านบนปิดสนิทดังเดิมจึงนำคอนแทคเลนส์ออก
เลสิก (LASIK : Laser In-Situ keratomileusis)
การรักษาภาวะสายตาสั้นและสายตายาวซึ่งบางกรณีและสายตาเอียงโดยการแยกชั้นกระจกตาด้านบนขึ้นด้วยเครื่องเลสิก Microkeratome แล้วใช้เครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ ปรับเปลี่ยน ความโค้งของกระจกตาในชั้นลึกลงไปตามที่จักษุแพทย์คำนวณ ไว้แล้วจึงปิดผิวกระจกตาลงดังเดิม
เฟมโตเลสิก (FemtoLASIK : Femtosecond – LASIK)
เลสิกแบบไร้ใบมีด (Bladeless LASIK) เป็น เทคโนโลยีการทำเลสิกที่ใช้เลเซอร์ทุกขั้นตอน (All laser LASIK) ตั้งแต่แยกชั้นกระจกตาด้วยเฟมโตเซคเคิลเลเซอร์และปรับความโค้งกระจกตาด้วยเครื่องเอ็กไซเมอร์ เลเซอร์ เพิ่มความแม่นยำ ปลอดภัย แผลหายเร็ว ผู้ป่วยสามารถแก้ไขโดยเทคโนโลยีใหม่นี้ได้ตามดุลยพินิจของจักษุแพทย์
การใช้เครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ในการยิงเลเซอร์ที่มีความเร็วถึง 750 ครั้ง /วินาที มีระบบติดตามความเคลื่อนไหวของลูกตา 6 ทิศทาง สามารถปรับ ลำแสงเลเซอร์ให้ตกในตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ การรักษาจึงมีความรวดเร็ว ได้ผลดี ผู้รักษาฟื้นตัวได้เร็ว กว่าวิธีเดิมๆ การรักษาสายตาด้วยเลสิกแบบใหม่แม้ว่าจะมีความปลอดภัยสูง สำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจควรศึกษาหาข้อมูลให้ดีก่อน และควรเลือกแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรง สถานพยาบาลมีความน่าเชื่อถือ รวมถึงการดูแลดวงตาตัวเองให้พร้อมก่อนมาทำเลสิก โดยเฉพาะคนที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ ควรงดใส่อย่างน้อย 3 -7 วัน (สำหรับเลนส์นิ่ม และเลนส์แข็ง) ไม่ควรขับรถมาเอง และควรนำแว่นกันแดดมาด้วย เพราะการตรวจและทำเลสิกจะมีการหยอดยาขยายม่านตา ทำให้สู้แสงไม่ได้ 4 – 6 ชั่วโมง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ตา โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-7340000 ต่อ 3260 , 3264
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating