โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไป ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง เกิดการหักง่าย โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลังและกระดูกข้อมือ เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำ ซึ่งผู้หญิงจะมีโอกาสที่เป็นได้มากกว่าผู้ชาย
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
- ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- เพศหญิงจะมีการเกิดกระดูกจางมากและเร็วกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงวัยทองขาด estrogen ทำให้เกิดการละลายของกระดูกมากกว่าปกติ การรับประทานแคลเซี่ยมเป็นประจำ จะช่วยลดอุบัติการณ์ของกระดูกหัก
- อายุมากจะเกิดกระดูกจางได้มากกว่าอายุน้อย
- ขนาดของร่างกาย ผู้ป่วยที่ผอมและตัวเล็กจะมีกระดูกจางได้ง่าย
- เชื้อชาติ
- ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเรื่องกระดูกจางจะเกิดโรคได้ง่าย
- ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้
- ฮอร์โมนเพศไม่ว่าหญิงหรือชาย หากมีฮอร์โมนต่ำก็เกิดกระดูกจางได้
- เบื่ออาหาร
- อาหารที่รับประทานมีแคลเซี่ยมต่ำ
- ใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น Steroid หรือยากันชัก
- ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
- สูบบุหรี่
- ดื่มสุรา
การป้องกันโรคกระดูกพรุน
การป้องกันที่ดีที่สุด คือ ต้องสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 30 ปี ด้วยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง โดยเฉพาะในวัยเด็ก, หญิงตั้งครรภ์, หญิงที่กำลังให้นมบุตร, ชายและหญิงวัยทอง ด้วยการรับประทาน “นม, นมพร่องมันเนย, ผักใบเขียว, ปลา, กระดูก, ถั่ว, น้ำส้ม” ซึ่งคนวัยทอง ควรจะได้รับแคลเซี่ยมอย่างน้อย วันละ 1500 มก.
แหล่งอาหารที่มีแคลเซี่ยม
- หมวดที่ 1 เนื้อสัตว์ เช่น ปลาร้า กุ้งแห้ง ปลาลิ้นหมา ปลาตัวเล็ก
- หมวดที่ 2 พืชผัก ใบชะพลู เห็ดหอม ดอกแค ผักกระเฉด ยอดสะเดา ใบโหระพา ผักคะน้า ถั่วแดง เม็ดบัว เต้าหู้ ถั่วเหลือง
- หมวดที่ 3 นม
- หมวดที่ 4 เครื่องปรุง เช่น กะปิ ใบมะกรูด พริกแห้ง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000 ต่อ 2298
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating