โรคกระดูกพรุนถือเป็นภัยเงียบที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นจากประชากรผู้สูงอายุ สถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าโรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญต่อประชากรผู้สูงอายุมากที่สุด โดยผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคดังกล่าวถึงร้อยละ 30-40 ขณะที่ผู้ชายมีโอกาสกระดูกหักร้อยละ 13 หรือเท่ากับประชากรผู้ป่วย 1 ใน 5
นพ.เปรมเสถียร ศิริธนาพิพัฒน์ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ – การผ่าตัดข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวถึงโรคกระดูกพรุนว่า เป็นภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง โครงสร้างของกระดูกบาง กระดูกมีความแข็งแรงลดลง จนส่งผลให้มีโอกาสหักง่าย โดยส่วนใหญ่โรคกระดูกพรุนจะทำให้กระดูกสำคัญ เช่น กระดูกสันหลัง ข้อสะโพก ข้อมือและกระดูกต้นแขนหักง่ายกว่าปกติ โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่สามารถเป็นมากขึ้นได้เรื่อยๆและไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ ล่วงหน้ามาก่อน
สำหรับ สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนเกิดจากภาวะที่ร่างกายขาดสารตั้งต้นในการเสริมสร้างกระดูกที่สำคัญ คือ แคลเซียม (ภาวะแคลเซียมน้อย) หรือ การขาดสารอาหารและวิตามินดีที่ร่างกายต้องการ การขาดฮอร์โมน รวมไปถึงการออกกำลังกายที่น้อยเกินไป โดยกลุ่มเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนมักจะพบในผู้ที่มีอายุมาก เช่น คนชรา และสตรีผู้ที่เข้าสู่วัยใกล้หมดประจำเดือน (วัยทอง) แต่หากพบในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยมักจะมีสาเหตุมากจากการมีโรคประจำตัว เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับเลือด โรคที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างกระดูก หรือเป็นโรคทางพันธุกรรม ซึ่งกรณีนี้ไม่ได้เกิดจากภาวะกระดูกเสื่อม แต่เป็นเพราการสร้างกระดูกผิดไปกว่าปกติ
นพ.เปรมเสถียร กล่าวต่อว่า โรคกระดูกพรุนถือเป็นภัยเงียบที่ไม่มีอาการใดๆให้ระวัง แต่จะเกิดรู้ก็ต่อเมื่อกระดูกหักแล้วหรือกระดูกสันหลังทรุดก็จะทำให้ปวดหลัง หลังค่อม ดูเตี้ยลง เคลื่อนไหวได้ลดลง ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนบางรายอาจมีภาวะอาการฟันหลุดได้ง่ายอีกด้วย
การเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก วิธีที่ดีที่สุดคือการเร่งสร้างและสะสมมวลกระดูกให้แข็งแรงหนาแน่นอยู่เสมอ โดย
วิธีการตรวจสุขภาพประจำปีจะมีการตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก (BMD) ซึ่ง WHO รับรอง โดยการตรวจที่กระดูกสันหลังระดับเอว และข้อสะโพก ร่วมกับเจาะเลือดตรวจหาระดับแคลเซียมและวิตามินดี ส่วนวิธีการรักษาโรคกระดูกพรุนนั้น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่เเน่ชัด เป็นเพียงการชะลอการเสื่อมหรือสูญเสียของมวลกระดูก ด้วยวิธีการใช้ยา เช่น เเคลเซียม วิตามินดี และยาลดการทำลายกระดูก ซึ่งยาลดการทำลายกระดูกเป็นยาที่ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น ไม่ควรหาซื้อยารับประทานเอง นอกจากนั้นยังมีการให้ฮอร์โมนทดแทน รวมไปถึงการระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือการหกล้มที่อาจะมีโอกาสทำให้กระดูกหักได้”
จะเห็นได้ว่าร่างกายแข็งแรงต้องเริ่มมาจากพื้นฐานของร่างกายที่แข็งแรงด้วย ฉะนั้นกระดูกของเราก็ต้องการการดูแลที่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นวัยใดๆ ควรใส่ใจในสุขภาพและหมั่นดูแลเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงทั้งภายในและภายนอก หากมีสุขภาพดี สุขภาพจิตของเราก็ดี มีความสุขตามไปด้วยแน่นอน
ศูนย์ฟื้นฟูข้อเสื่อม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-7340000 ต่อ 2222 , 2224