หลายคนคงอยากห่างไกลจากคำว่า “แผลเป็น” เพราะนอกจากจะสร้างความเจ็บปวดจากบาดแผลแล้ว พอเวลาผ่านไปอาจทิ้งรอยไม่พึงประสงค์ให้ติดอยู่ที่ผิวหนังอีกด้วย แต่ด้วยเทคโนโลยีและความสามารถของแพทย์ในปัจจุบัน อาจทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดรอยแผลเป็นหมดกังวลลงได้ แผลเป็นคือ เนื้อเยื่อที่ร่างกายสร้างขึ้นใหม่ และไม่เป็นระเบียบเพื่อซ่อมแซมบาดแผล ซึ่งหากสร้างมากเกินไปจะเกิดเป็นรอยนูน และหากขยายเกินขอบเขตจะเรียกว่า แผลเป็นคีลอยด์ แต่หากสร้างน้อยเกินไป ผิวหนังก็จะเป็นหลุม สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดรอยแผลเป็นนั้น อาจเกิดได้จาก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายในและภายนอก
ซึ่ง ปัจจัยภายใน ได้แก่ พันธุกรรม ที่เป็นปัจจัยสำคัญ มีผลต่อการซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังและคอลลาเจน ที่มีการสร้างมากหรือน้อยเกินไป จึงเกิดแผลเป็นนูนที่เรียกว่า Hypertrophic scar , Keloid หรือแผลเป็นลักษณะบุ๋มลงไป ที่เรียกว่า Atrophic scar
ดังนั้น ถ้าในครอบครัวของเรามีคนที่มีแผลเป็นง่ายตัวเราเอง ก็อาจมีโอกาสในการเกิดแผลเป็นได้ง่ายเช่นกัน
ส่วนปัจจัยภายนอก ที่ก่อให้เกิดรอยแผลเป็น โดยมากเกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น เกิดจากแผลอีสุกอีใส , เกิดจากการฉีดวัคซีน หรือทำศัลยกรรม โดยเมื่อเกิดแผลขึ้นก็ควรดูแลทำความสะอาด ไม่ให้มีการติดเชื้อ และไม่สะกิดแผลออกก่อน ที่ภายในจะมีการซ่อมแซมเซลล์จนแผลหายดีแล้ว เพราะการที่สะเก็ดแผลหลุดเร็วเกินไป อาจทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดแผลเป็นได้ นพ.ธีระ กล่าวต่อว่า ลักษณะแผลเป็นแบบรอยนูน และ คีลอยด์ หากเป็นสมัยก่อน ผู้ที่มีแผลเป็นดังกล่าวอาจจะวิตกกังวล เพราะไม่มีทางรักษาหายได้ แต่ด้วยวิวัฒนาการแพทย์ในปัจจุบัน สามารถรักษารอยแผลเป็นดังกล่าวได้ แต่อาจจะต้องใช้หลายๆ วิธีผสมผสานกัน ได้แก่
- การทายาป้องกันแผลเป็น เช่น Dermatix Ultra gel ซึ่งเป็นกลุ่มยาซิลิโจล หรือยาทาป้องกันแผลเป็นกลุ่มอื่นๆ
- การรัดกระชับด้วยผ้า Compression garment ร่วมกับการกดนวดเบาๆที่แผลเป็น
- การฉีด Corticosteroid ในแผลเป็น คีลอยด์ ซึ่งมีโอกาสหายหลังฉีดประมาณ 50%
- การฉีดแผลเป็นด้วย สาร 5-FU , TGF beta 3, Insulin แต่ยังต้องใช้เวลาในการศึกษาวิจัย
- การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นเดิมที่นูน กว้าง หรือเป็นรอยบุ๋ม
- การฉายแสงหลังการผ่าตัด ศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมความงาม กล่าวด้วยว่า หากรักษาแผลเป็นด้วยวิธีที่ผสมผสานแล้วรอยแผลเป็น ยังไม่ดีขึ้นอาจต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นที่นูน กว้าง หรือเป็นรอยบุ๋ม ซึ่งหากต้องรักษาแผลเป็นด้วยวิธีการผ่าตัด ควรเลือกแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และสถานที่ให้บริการมีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อลดปัญหาที่จะก่อให้เกิดการลุกลามของรอยแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ได้ อีกทั้งควรศึกษาวิธีการดูแลตัวเองก่อนรับการผ่าตัด ซึ่งได้แก่
-
- ควรงดยาที่ทำให้เลือดออกง่าย เช่น aspirin, NSAIDs , Fish oil ,Vitamin E high dose เป็นต้น รวมทั้งประเมินถึงโรคประจำตัวที่มี และการวางแผนการผ่าตัด เพื่อให้มีแนวแผลที่มีความตึงของแผลที่น้อยที่สุด และให้มีความยาวแผลน้อยที่สุด
- การผ่าตัด แพทย์ผู้ผ่าตัดต้องหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดการบาดเจ็บเนื้อเยื่อ และเนื้อตายรวมทั้งการมีเลือดออกที่ไม่จำเป็น เลือกใช้เข็มขนาดเล็กฉีดยาชาก่อนการผ่าตัด
- การเย็บแผล ให้สนิทเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปิดของบาดแผลด้วยผิวหนังชั้นนอกได้อย่างรวดเร็ว
- การดูแลบาดแผล ภายหลังการผ่าตัดจนถึงการตัดไหม เวลาที่เหมาะสมในการตัดไหมหลังการเย็บแผล แผลที่ใบหน้า 5 วัน, แผลที่หนังศีรษะ ลำตัว 7 วัน, แผลที่แขน 7-10 วัน, แผลที่เท้า 10-14 วัน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์ศัลยกรรมความงาม
โทร 02-734-0000 ต่อ 1197
- Readers Rating
- Rated 3.1 stars
3.1 / 5 (Reviewers) - Good
- Your Rating