เป็นธรรมดาหากคนเป็นพ่อแม่คุมลูกๆไม่อยู่ จนต้องดุว่ากล่าว ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ทันคิดกันว่า คำพูดเหล่านั้นจะไป กระทบต่อจิตใจของเด็กมากน้อยแค่ไหน หรือจะส่งผลอย่างไรที่ทำให้เด็กมีปมในใจบ้าง ทางที่ดีพ่อแม่ควรควบคุมสติ และอารมณ์ตัวเองอยู่เสมอ เพราะถ้าพลั้งปากหรือทำอะไรลงไปแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะทำให้เด็กคลายปมปัญหา ในใจ จากการที่ถูกพ่อแม่ดุด่าว่ากล่าว ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง
สำหรับเด็กในวัย 3-6 ขวบ ถือว่าเป็นช่วงอายุที่พัฒนาการต่างๆทั้งร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และภาษากำลัง ฟอร์มตัวเองอย่างก้าวกระโดด พฤติกรรมของเด็กในช่วงวัยนี้จะเริ่ม เรียนรู้ก่อน ว่านี่คือโกรธ รัก หวง เขาจะมีความสับสน หรือตกใจกับอารมณ์พวกนี้เวลาเกิดเหตุการณ์ แต่เขาก็เรียนรู้ อารมณ์คนอื่นด้วย เช่น เริ่มมีสังคม รู้จักการแบ่งปัน เริ่มฟอร์มลักษณะตัวตนตัวเองว่าพ่อแม่รู้สึกอย่างไรกับเขา ดังนั้น คำพูดทั้งหลายที่ดีและไม่ดีจึงสามารถกระทบต่อจิตใจ อารมณ์ สังคมได้ ว่าเด็กมองตัวตนตัวเองแย่ลงหรือไม่ การพัฒนาด้านอื่นๆ จึงมีผลกระทบตาม เมื่ออารมณ์ไม่พร้อม ร่างกาย และจินตนาการก็จะถูกบลอคไปด้วย โดยเฉพาะ ลักษณะคำพูดดังต่อไป
- ขู่ลูก เช่น ไม่รักแล้วนะ เดี๋ยวทิ้งซะเลย
- ตำหนิที่ตัวตนของเด็ก เช่น ดื้อ โง่ น่ารำคาญ
- ไม่แนะนำในสิ่งที่ควรทำ เช่น เมื่อเด็กทำอะไรไม่ได้ ตามที่พ่อแม่สอน ก็บอกว่าทำไมทำไม่ได้สักที
- การห้ามเด็กไม่ให้ทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น อยู่นิ่งๆ อย่าซน
- เปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น หรือพี่น้อง
- การหยอก เช่น เดี๋ยวผีมาหลอก เดี๋ยวโดนจับตัว
คำต้องห้ามเหล่านี้อาจไม่มีครอบครัวไหนทำได้ 100 เปอเซนต์ แต่ก็ยังพอมีวิธีแก้ไขที่สามารถช่วยได้ ซึ่งพญ.สินดี อธิบายว่าควรเปลี่ยนเป็นการใช้คำพูดที่สื่อว่าเรารู้สึกอย่างไรมากกว่าการดุด่าแบบตรงๆ เช่น แม่รักลูกนะแต่ไม่ชอบ ที่ลูกทำแบบนี้ รวมถึงการให้เวลาส่วนใหญ่กับเขา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในบ้าน และมองจุดดีมากกว่า จุดด้อย ให้เขารู้สึกว่าการอยู่บ้านนั้นไม่ได้ทำให้เขาถูกตำหนิทุกครั้ง ให้เด็กมีอิสระที่ได้คิด และมีความเชื่อมั่น ในตัวเอง
ถ้าพ่อแม่ทำได้ แม้ว่าจะมีบ้างที่หลุดพูดอะไรออกไป เด็กก็จะกลับมาอยู่ในจุดที่สามารถ เดินไปต่อได้ แต่ถ้าเกิดบ่อยเกินครึ่งชีวิตของพวกเขา โอกาสแก้ไข้จะยากกว่า เพราะเด็กวัยนี้จะรู้ว่าว่าพ่อแม่คิด อย่างไรจากลักษณะ การปฏิสัมพันธ์ที่ต่างกันเวลาพ่อแม่คุยด้วย ต้องคิดว่าเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องพยายาม มองที่ตัวตนของเขา อธิบายเหตุผลให้ชัดเจนในทุกเรื่อง เพราะวัยนี้ยังสามารถทำความเข้าใจได้ แต่ถ้าปล่อยไปถึง อายุ 7 ขวบ ถึง ประถม ปลาย มันจะยากขึ้นที่เขาจะปรับได้ ดังนั้นเวลาที่เขาทำดีต้องชื่นชมเขาให้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating