เด็กไข้สูง เสี่ยงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เช็กด่วน | Vejthani

บทความสุขภาพ

ลูกน้อยมีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ อาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ รักษาช้าระวังภาวะแทรกซ้อน

Share:

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection, UTI) พบได้บ่อยในเด็กเล็กและเด็กโต สำหรับอาการในเด็กเล็ก มักมีไข้สูง แต่ไม่มีอาการจำเพาะ อาจมีอาการซึม ทานได้น้อยลง ส่วนเด็กโด มักมีไข้ ปวดหลังบริเวณตำแหน่งไตร่วมด้วย หรือปัสสาวะผิดปกติ หากรักษาล่าช้าอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ไตวายเฉียบพลัน ฝีที่ไต และแผลเป็นที่ไตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และรับการรักษาที่เหมาะสม
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อาจเป็นอาการนำของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กำเนิด ซึ่งในเด็กไทยพบประมาณร้อยละ 36-46 ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะทั้งหมด

ความผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ ปัสสาวะไหลย้อน และภาวะทางเดินปัสสาวะอุดกั้น เช่น ลิ้นอุดกั้นท่อปัสสาวะส่วนหลัง กรวยไตอุดตัน หรือหลอดไตโต เป็นต้น นอกจากนี้ ความผิดปกติของการขับถ่ายอุจจาระ ยังเป็นปัจจัยสำคัญของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเป็นที่ไต ความดันเลือดสูงและโรคไตวายเรื้อรังได้

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI)ในเด็กทารก

วินิจฉัย

หากมีอาการที่เข้าข่ายการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ แพทย์จะพิจารณาตรวจปัสสาวะและเพาะเชื้อในปัสสาวะ หากมีการติดเชื้อจะพบเม็ดเลือดขาว หรือเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะ จากนั้นจึงเพาะเชื้อเพื่อหาแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ
ในผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แพทย์จะพิจารณาตรวจพิเศษเพิ่มเติม ได้แก่ การตรวจอัลตร้าซาวนด์ เพื่อดูความผิดปกติของรูปร่างไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ถ้ามีข้อบ่งชี้บางประการ เช่น มีการติดเชื้อซ้ำ ติดเชื้อในกระแสเลือด ไตผิดปกติ หรือกรวยไตบวมผิดปกติ จะต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมพิเศษเพื่อหาความผิดปกติของระบบทางเดินทางเดินปัสสาวะ เช่น การใส่สายสวนเพื่อตรวจหาภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับ หรือการสแกนไต เป็นต้น

การรักษา

รักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมกับเชื้อแบคทีเรีย โดยในเด็กเล็ก หรือผู้ป่วยมีไข้สูง ทานยาไม่ได้ หรือมีอาการขาดน้ำ จะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ให้สารน้ำที่เพียงพอร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะทางน้ำเกลือที่เหมาะสม

การป้องกัน

ควรเช็ดทำความสะอาดหลังถ่ายหรือปัสสาวะให้ถูกวิธี โดยเช็ดจากด้านหน้าไปหลัง ไม่ควรเช็ดย้อนขึ้นเพราะจะนำเชื้อจากทางทวารหนักเข้ามาสู่ทางเดินปัสสาวะ หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะและให้ขับถ่ายอุจจาระอย่างสม่ำเสมอ

เช็คเลย!! หากมีอาการเหล่านี้ ลูกน้อยอาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ พบได้บ่อยในเด็กเล็กและเด็กโต ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการติดเชื้อที่สำคัญ ได้แก่ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ และความผิดปกติของการขับปัสสาวะ อาการและอาการแสดงขึ้นอยู่กับอายุ ตำแหน่งที่ติดเชื้อ และความรุนแรงของการติดเชื้อ

  • เด็กเล็ก มักมีไข้สูง ปัสสาวะบ่อย แต่ไม่มีอาการจำเพาะ อาจมีอาการซึม ทานได้น้อยลง
  • เด็กโด มักมีไข้ ปัสสาวะผิดปกติ หรือปวดหลังบริเวณตำแหน่งไตร่วมด้วย

หากรักษาล่าช้าอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ไตวายเฉียบพลัน ฝีที่ไต และแผลเป็นที่ไตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และรับการรักษาที่เหมาะสม

“ข้อควรปฏิบัติ” ป้องกันลูกน้อยติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

  •  ฝึกปัสสาวะให้สุด
  • สอนไม่ให้กลั้นปัสสาวะ
  • ฝึกขับถ่ายอุจจาระเป็นเวลา
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • รับประทานผักผลไม้เป็นประจำ
  • เช็ดทำความสะอาดหลังขับถ่ายหรือปัสสาวะให้ถูกวิธี

การเช็ดทำความสะอาด เช็ดจากด้านหน้าไปหลัง ไม่ควรเช็ดย้อนขึ้น เพราะจะนำเชื้อโรคจากทางทวารหนัก เข้ามาสู่ทางเดินปัสสาวะ

การรักษาเมื่อเด็กติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

เมื่อตรวจวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติ แพทย์จะรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมกับเชื้อแบคทีเรีย ผู้ปกครองจึงไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะให้ลูกทานเอง โดยในเด็กเล็ก หรือผู้ป่วยมีไข้สูง ทานยาไม่ได้ หรือมีอาการขาดน้ำ จะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ให้สารน้ำที่เพียงพอร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะทางน้ำเกลือที่เหมาะสม
หากผู้ปกครองสงสัยว่าลูกเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม เพราะหากล่าช้าอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ไตวายเฉียบพลัน ฝีที่ไต และแผลเป็นที่ไตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และรับการรักษาที่เหมาะสม

เด็กอั้นฉี่ เช็ดก้นไม่สะอาด ระวังติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เกิดขึ้นเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียจากทางเดินอาหาร จากอุจจาระ เดินทางมายังท่อปัสสาวะ แล้วลุกลามต่อเข้ากระเพาะปัสสาวะหรือท่อไต โดยปัจจัยที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียเดินทางมายังทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยเด็ก ส่วนใหญ่มักเกิดจากการกลั้นปัสสาวะ และการทำความสะอาดหลังขับถ่ายไม่ถูกวิธี
ผู้ปกครองจึงควรสอนให้เด็กปัสสาวะให้สุด ปัสสาวะเมื่อปวด ไม่กลั้นปัสสาวะ ฝึกขับถ่ายอุจจาระเป็นเวลา และเช็ดทำความสะอาดหลังขับถ่ายหรือปัสสาวะให้ถูกวิธี โดยเช็ดจากด้านหน้าไปหลัง ไม่ควรเช็ดย้อนขึ้น เพราะจะนำเชื้อโรคจากทางทวารหนัก เข้ามาสู่ทางเดินปัสสาวะ

  • Readers Rating
  • Rated 3.2 stars
    3.2 / 5 (15 )
  • Your Rating