โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบผู้สูงอายุ รู้ทันป้องกันได้ - Vejthani Hospital

บทความสุขภาพ

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบผู้สูงอายุ รู้ทันป้องกันได้

Share:

“โรคกระดูกพรุน นับเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญต่อประชากรผู้สูงอายุมากที่สุด เป็นภัยเงียบ ไม่แสดงอาการ ไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ ล่วงหน้ามาก่อน เมื่อผู้ป่วยประสบภาวะกระดูกพรุนจะมีโอกาสกระดูกหักง่ายขึ้นและนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนมากมาย ซึ่งเมื่อกระดูกหักโดยมีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย ผู้ป่วยจำนวนน้อยรายเท่านั้นที่จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

โรคกระดูกพรุนคือโรคที่ความแข็งแรงของกระดูกลดลง (Decrease Bone Strength) ซึ่งประกอบด้วยความหนาแน่นของกระดูก (Bone Density) หรือคุณภาพของกระดูกลดลง (Bone Quality) ส่งผลให้ขาดความแข็งแรงจึงเปราะและแตกหักได้ง่าย โดยบริเวณที่กระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนที่พบได้บ่อย ได้แก่ บริเวณกระดูกข้อมือ กระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพก

กลุ่มเสี่ยงกระดูกพรุน

  • ผู้หญิงอายุมากกว่า 65 ปี และผู้ชายอายุมากกว่า 70 ปี
  • ผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ก่อนอายุ 45 ปี
  • ผู้มีประวัติกระดูกเปราะและหักง่าย
  • ผู้ที่รับประทานยากลุ่มสเตียรอยด์
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต

การวินิฉัยภาวะกระดูกพรุน

สามารถตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก (BONE MINERAL DENSITY : BMD) เพื่อวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนได้ โดยตรวจที่กระดูกสันหลังระดับเอวและข้อสะโพก ร่วมกับเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับแคลเซียมและวิตามินดี

Osteoporosis-pic2

การรักษาเมื่อพบภาวะกระดูกพรุน

  • กรณีมวลกระดูกน้อย สามารถชะลอความเสื่อมและการสูญเสียของมวลกระดูกได้ด้วยการรับประทานยาหรือวิตามิน เช่น แคลเซียม วิตามินดี ยาลดการทำลายกระดูก หรือใช้ยาฉีด จากนั้นจึงหมั่นติดตามผลดูอาการ
  • กรณีกระดูกพรุนและหัก โดยเฉพาะข้อสะโพก แนะนำให้ผ่าตัดรักษาเพราะหากข้อสะโพกหัก เดินไม่ได้ และไม่ผ่าตัดรักษา อาจทำให้มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น ปอดบวม ติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น หากกระดูกสันหลังหัก แนะนำให้ใส่อุปกรณ์พยุงหลัง หากอาการไม่ดีขึ้นจึงแนะนำให้ผ่าตัดกระดูกสันหลัง

การป้องกันภาวะกระดูกพรุน

  • รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินดี ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง
  • เลี่ยงการทำลายกระดูก ด้วยการงดสูบบุหรี่ ลดการดื่มเครื่องดื่มมึนเมา และคาเฟอีน
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ และควรตรวจวัดกระดูกเพื่อป้องกันการเสื่อมแต่เนิ่น ๆ

ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (4 )
  • Your Rating