โรคอ้วน ในการพิจารณาดูแลรักษาโรคอ้วน จะคำนึงถึง 2 ปัจจัยหลัก คือดัชนีมวลกาย และโรคร่วม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ซึ่งสามารถหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ได้ โดยนำน้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง เช่น น้ำหนัก 110 กิโลกรัม ÷ ส่วนสูง 1.65 m (165 cm) ยกกำลัง 2 จะเท่ากับค่า BMI 40.4 เป็นต้น
สามารถแบ่งความเสี่ยงโรคอ้วนเป็น 4 ระดับ ดังนี้
- ความเสี่ยงต่ำ คือ BMI 23 -30 และไม่มีโรคร่วม
- ความเสี่ยงปานกลาง คือ BMI > 30 หรือ BMI 23.0 – 30 และมีโรคร่วม 1 โรค
- ความเสี่ยงสูง คือ BMI > 30 – 35 และมีโรคร่วมมากกว่า 1 โรค
- ความเสี่ยงสูงมาก คือ BMI > 40 หรือ BMI > 35 และมีโรคร่วมมากกว่า 1 โรค
วิธีรับมือกับโรคอ้วน
- ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำและเสี่ยงปานกลาง ควรดูแลสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และควบคุมอาการของโรคให้คงที่
- ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงถึงสูงมาก นอกจากจะควบคุมโรคประจำตัวให้อาการคงที่แล้ว ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อให้การลดน้ำหนักเป็นไปอย่างเหมาะสมและปลอดภัย อย่างเช่นการใส่บอลลูนลดน้ำหนักในกระเพาะอาหารด้วยการส่องกล้อง ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกอิ่มและรับประทานอาหารได้น้อยลง โดยวิธีนี้สามารถลดน้ำหนักได้เฉลี่ย 24 กิโลกรัมต่อปี
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000 ต่อ 2966
- Readers Rating
- Rated 4.4 stars
4.4 / 5 (Reviewers) - Outstanding
- Your Rating