3 สัญญาณ โรคกรดไหลย้อน การรักษาและการป้องกัน| โรงพยาบาลเวชธานี

บทความสุขภาพ

สังเกต “3 สัญญาณ” โรคกรดไหลย้อน

Share:

สังเกต “3 สัญญาณ” โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่น้ำย่อยความเข้มข้นสูงจากกระเพาะอาหาร ไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกหรืออาการขย้อน ซึ่งผู้ป่วยจะสัมผัสได้ถึงน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมในปากที่ถือเป็นความผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย สามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีกลิ่นปากและยังเป็นโรคที่สร้างความทรมานและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงอีกด้วย

สาเหตุของ โรคกรดไหลย้อน

  1. ความผิดปกติของหูรูดส่วนล่างหลอดอาหาร เมื่ออายุเพิ่มขึ้น หูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารก็สามารถเกิดความเสื่อมสภาพได้ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ส่งผลให้ผู้ป่วยเรอเปรี้ยว แสบร้อนที่คอ พบได้บ่อยในคนที่สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  2. หลอดอาหารบีบตัวผิดปกติ การที่หลอดอาหารบีบตัวผิดปกติจะทำให้อาหารและน้ำย่อยเกิดการคั่งอยู่ในกระเพาะอาหารเป็นเวลานานกว่าปกติเพราะไม่สามารถบีบตัวให้อาหารลงสู่ลำไส้ได้หมด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ในกระเพาะอาหารเกิดแรงดันมากขึ้น หูรูดจึงถูกดันจนเปิดออก และทำการดันทั้งอาหารและน้ำย่อยกลับขึ้นมาสู่หลอดอาหารอีกครั้งจึงส่งผลให้เกิดอาการกรดไหลย้อน

    3. กระเพาะอาหารบีบตัวผิดปกติ การบีบตัวที่ผิดปกติของกระเพาะอาหารส่งผลให้อาหารต่างๆ ยังคงค้างอยู่ในกระเพาะนานกว่าปกติ ปัจจัยนี้เองที่ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นสู่หลอดอาหารมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงน้ำขมที่คอเมื่อเรอ ซึ่งสิ่งที่กระตุ้นและมีส่วนสำคัญในการทำงานอย่างผิดปกติของกระเพาะอาหารคือของกินที่มีไขมันสูง

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่สามารถทำให้สามารถเป็นโรคกรดไหลย้อนได้ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการสูบบุหรี่จัด ชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นปนะจำ การรับประทานอาหารปริมาณมากและเร็ว คนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเพราะมีความดันในช่องท้องสูงกว่าคนปกติทั่วไป รวมไปถึงความวิตกกังวลและความเครียดก็จะทำให้กระเพาะอาหารเกิดการหลั่งกรดส่วนเกินที่จะทำให้เกิดเป็นโรคกรดไหลย้อนได้

มาดู 3 สัญญาณบ่งบอกว่า คุณอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน ดังนี้

  1. รู้สึกเหมือนมีน้ำย่อยขม ๆ ไหลย้อนมาที่คอ
  2. ท้องอืด แน่นท้อง หรือรู้สึกมีก้อนที่คอ
  3. หลังอาหารมื้อหลักมักจะคลื่นไส้อาเจียน

อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ สามารถพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยด้วยเครื่องมือสำหรับการตรวจวัดกรดในหลอดอาหารส่วนปลาย โดยเป็นการตรวจวัดกรดและการไหลย้อนของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร เข้ามาในหลอดอาหาร ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น ผู้ป่วยจึงได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตรงจุด

การรักษา โรคกรดไหลย้อน

วิธีการรักษากรดไหลย้อนที่ได้ที่ได้ผลมากที่สุดนั้นคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อที่จะลดโอกาสในการกำเริบของโรค โดยเริ่มจากการหลีกเลี่ยงอาหารที่จะเพิ่มกรดในกระเพาะอย่างอาหารรสจัดต่างๆ ทั้งเปรี้ยวและเผ็ด อาหารประเภทที่มีกรดเยอะอย่างกระเทียม หอมแดง น้ำอัดลม เป็นต้น รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ ที่สำคัญคือการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกตินั้นจะช่วยบรรเทาอาการของโรคและช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย

โทร. 0-2734-0000 ต่อ 2960, 2901

  • Readers Rating
  • Rated 3.9 stars
    3.9 / 5 (15 )
  • Your Rating