การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา อุบัติเหตุ หรือแม้กระทั่งจังหวะบิดหมุดผิดท่า อาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณหัวเข่า หรือปวดบริเวณข้อพับ แม้อาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ และยังสามารถเดินหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตมปกติ แต่หากยังฝืนใช้งานเข่าต่อเนื่องโดยไม่รับการรักษา ข้อเข่าของคุณอาจเสื่อมสภาพเร็วได้
รู้จัก “หมอนรองเข่า” อวัยวะสำคัญในการรับแรงกระแทก
หมอนรองเข่า เป็นอวัยวะที่มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง รูปร่างคล้ายพระจันทร์เสี้ยว อยู่ระหว่างกระดกตันขา และกระดูกหน้าแข้ง ทำหน้าที่รับและกระจายแรงกระแทก จากการเดิน วิ่ง หรือ กระโดด หากหมอนรองเข่าเกิดการฉีกขาด แรงกระแทกระหว่างกระดูกสองชิ้นอาจทำให้ข้อเข้าเสื่อมสภาพเร็วขึ้นหรือที่เรียกกันว่า “เข่าเสื่อม” นั่นเอง
สาเหตุอะไรบ้าง ส่งผลให้ “หมอนรองเข่า” บาดเจ็บ
- จังหวะปิดหมุนอย่างกะทันหันของข้อเข่า โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการเล่นกีฬา
- อุบัติเหตุที่เกิดการปะทะโดยตรงบริเวณข้อเข่า
- การนั่งยองๆ หรือจังหวะลุกนั่ง ที่มีการปิดหมุนของเข่า
- เกิดร่วมกับการบาดเจ็บของเส้นเอ็นในข้อเข่า เช่น เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด
สังเกตเลย! อาการเหล่านี้เป็นสัญญานของหมอนรองเข่าบาดเจ็บ
- มีอาการปวดบริเวณด้านหน้าเข่า หรือบริเวณหลังข้อพับ
- อาจได้ยินเสียงเกิดขึ้นในข้อเข่า ในจังหวะที่เกิดการบาดเจ็บ
- เมื่องอหรือเหยียดเข่า อาจรู้สึกว่ามีอวัยวะบางอย่างในข้อเข่าเคลื่อนไปมา
- สามารถเดินหรือเล่นกีฬาได้ แต่เมื่อใช้งานเข่าต่อเนื่อง อาจเกิดอาการบวม เข่าอ่อน หรือทรุดได้
หากอาการเหล่านี้ ไม่หายภายในระยะเวลา 1 เดือน ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ หมอนรองเข่าจะฉีกขาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆกระทั่งหลวมและเคลื่อนมาขวาง ทำให้เข่างอหรือเหยียดเข่าได้ไม่สุด
รักษาได้ด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง “แผลเล็กเจ็บน้อย ฟื้นตัวไว”
แพทย์จะตรวจวินิจฉัย และเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI เพื่อให้เห็นภาพของข้อเข่าได้โดยละเอียด ทั้งเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ หมอนรองเข่า และกระดูกอ่อนผิวข้อ โดยหากหมอนรองเข่าฉีกขาดไม่มากนัก แพทย์อาจแนะนำให้ประคบเย็น นอนยกขาสูง รับประทานยาลดการอักเสบ และการพักการใช้งานข้อเข่า ด้วยการใส่เฝือกอ่อน หรือใช้ไม้เท้าช่วยเดิน เพื่อให้หมอนรองเข่าได้ฟื้นตัวเร็วที่สุด แต่หากจำเป็นต้องผ่าตัด ปัจจุบันมาตรฐานการผ่าตัดหมอนรองเข่า ใช้วิธีผ่าตัดโดยการส่องกล้อง ซึ่งเปิดแผลขนาดเล็กเพียง 1 เซ็นติเมตร จึงเกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและอวัยวะใกล้เคียงค่อนข้างน้อย โดยศัลยแพทย์จะส่องกล้องเข้าไปเพื่อตรวจสอบบริเวณที่มีการบาดเจ็บ จากการนั้นจะใช้อุปกรณ์ชนิดพิเศษ เข้าไปเย็บหมอนรองเข่าที่ฉีกขาดเข้าด้วยกัน หลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องใช้ไม้เท้าช่วยเดินประมาณ 1 เดือน เพื่อให้หมอนรองเข่ารับน้ำหนักน้อยที่สุดและสนามตัวดีที่สุด จากนั้นต้องทำกายภาพบำบัดบริหารข้อเข่าต่อเนื่อง เพื่อฝึกการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและเพื่อให้กลัามเนื้อข้้อเข่าแข็งแรง สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติอีกครั้ง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์กระดูกและข้อ โทร. 02-734-0000 ต่อ 2298
- Readers Rating
- Rated 3.2 stars
3.2 / 5 (Reviewers) - Good
- Your Rating