รูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง ที่อาจเกิดข้ออักเสบได้ทุกตำแหน่งทั่วทั้งตัว ตำแหน่งที่ข้ออักเสบ จะมีลักษณะบวม แดง กดเจ็บ และเมื่อสัมผัสจะรู้สึกอุ่น หรือร้อนกว่าตำแหน่งอื่น และหากปล่อยไว้ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะเกิดการทำลายข้อ และเกิดข้อผิดรูป พิการอย่างถาวรได้
นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังอาจมีภาวะแทรกซ้อนในระบบอื่นๆ จากการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกาย เช่น
- ภาวะซีด
- เหนื่อยง่าย เพลีย ไม่มีแรง
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- โรคซึมเศร้า
- กระดูกพรุน
- เส้นเลือดฝอยอักเสบ เกิดเป็นผื่น ในบริเวณแขน ขา
หรือ แม้กระทั่งภาวะแทรกซ้อนที่อาจอันตรายถึงชีวิต ได้แก่
- ปอดอักเสบ เกิดพังผืด
- กระดูกต้นคอกดทับไขสันหลัง
- และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
วิธีการรักษารูมาตอยด์
หากเริ่มมีอาการปวดข้อ หรือสังเกตเห็นข้อบวม แดง อุ่น หรือร้อน โดยเฉพาะที่บริเวณข้อนิ้วมือ และข้อมือ หรือมีอาการข้อฝืด ตึง แข็งเวลาตื่นนอนในตอนเช้า ถึงแม้จะเป็นมาไม่นานควรจะรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษาด้วยขั้นตอนดังนี้
1. การวินิจฉัยจำเป็นต้องอาศัยทั้งประวัติ การตรวจร่างกาย การถ่ายภาพรังสี (x-ray)
2. การตรวจเลือดหาค่ารูมาตอยด์ ( rheumatoid factor)
3. ตรวจหาแอนติบอดีที่จำเพาะต่อโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (anti-CCP)
4. เข้ารับการรักษาที่ถูกต้องด้วยการใช้กลุ่มยาต้านโรครูมาติก (disease-modifying antirheumatic drugs ; DMARDs) เพื่อลดการอักเสบของข้อ ช่วยชะลอและป้องกันการทำลายข้อได้ในระยะยาว
เป้าหมายในการรักษาโรครูมาตอยด์ในปัจจุบัน มุ่งหวังที่จะให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ปวดข้อ และทำงานได้เป็นปกติ และลดโอกาสเกิดข้อพิการตามมา ซึ่งการรักษาจะสำเร็จได้ถ้าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่รวดเร็ว โดยเฉพาะภายใน 1 ปีแรกเริ่ม
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลเวชธานี โทร 02-734-0000 ต่อ 2200
- Readers Rating
- Rated 3.5 stars
3.5 / 5 (Reviewers) - Very Good
- Your Rating