หากพูดถึงเรื่องปัญหาระบบขับถ่ายคงหนีไม่พ้นโรคริดสีดวงทวารที่ใครหลายคนอาจกำลังประสบปัญหาอยู่ จนบางครั้งอาจทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดความทุกข์ทรมาน และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ที่เพียงแค่ลุกนั่งเฉยๆ ก็อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดและลำบากได้ ซึ่งมีผู้ป่วยหลายคนที่มองว่าโรคริดสีดวงทวารไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไร หรือรู้สึกเขินอายที่จะต้องไปพบแพทย์เมื่อระบบขับถ่ายของร่างกายผิดปกติ ทั้งนี้เราจะมั่นใจและเตรียมตัวรับมือกับโรคนี้ได้อย่างไร เพื่อไม่ต้องเผชิญกับความเจ็บปวดเดิมๆ อีกต่อไป วันนี้เราเลยขออาสาพาทุกคนไปรู้ถึงสาเหตุ อาการ และประเภทการผ่าตัด รวมไปถึงวิธีการดูแลตนเองหลังผ่าตัดริดสีดวงทวารกันอย่างละเอียด เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคและช่วยให้ผู้ป่วยหลายรายหายจากโรคร้ายนี้ได้
สาเหตุของริดสีดวงทวาร
โรคริดสีดวงทวารเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดๆ ของผู้ป่วยบางราย เนื่องจากวิถีชีวิตอันเร่งรีบและความสะดวกสบายที่มีมากขึ้นของคนเมืองในปัจจุบันที่ไม่เวลาดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินและการใช้ชีวิตที่ถูกสุขลักษณะ รวมไปถึงสาเหตุจากปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่ล้วนสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบขับถ่ายของร่างกาย ซึ่งสาเหตุเหล่านั้นมีดังต่อไปนี้
การเบ่งอุจจาระเป็นเวลานาน – ใครหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าการเบ่งอุจจาระเป็นเวลานานเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวารได้ เนื่องจากแรงดันในช่องท้องจะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เส้นเลือดดำไม่สามารถถ่ายเทได้อย่างสะดวกจนกลายเป็นริดสีดวงทวารในที่สุด
ดื่มน้ำน้อย – การดื่มน้ำน้อยทำให้ลำไส้ไม่สามารถขับของเสียออกมาได้ จนเกิดการสะสมของเสียในร่างกาย เป็นผลให้เกิดริดสีดวงทวาร ฝ้า และกระ บนใบหน้า ดังนั้นในหนึ่งวันควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 8-9 แก้ว
รับประทานแต่เนื้อสัตว์ – การรับประทานอาหารที่ไม่มีกากใยส่งผลให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารทำได้ช้าลง ทำให้การถ่ายในแต่ละครั้งนั้นทำได้ยาก เพราะฉะนั้นแล้วควรหมั่นรับประทานผักและผลไม้เพื่อการขับถ่ายที่ง่ายขึ้น
ชอบรับประทานอาหารรสจัด – ผู้ป่วยที่ชอบรับประทานอาหารรสจัดที่มีรสชาติเปรี้ยวหรือเผ็ดมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในกะเพาะอาหารและลำไส้ได้
น้ำหนักตัวมาก หรือโรคอ้วน – ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากมีความเสี่ยงที่จะเป็นริดสีดวงทวาร เนื่องจากแรงดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ทำให้เลือดสามารถคั่งที่บริเวณเนื้อเยื่อหลอดเลือดได้
อาการของริดสีดวงทวาร
ผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารจะมีอาการคัน เจ็บ และปวดบริเวณทวารหนัก ซึ่งในระยะแรกๆ จะมีเลือดออกในขณะที่ถ่ายอุจจาระ โดยให้สังเกตง่ายๆ จากกระดาษชำระหลังการขับถ่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่ามีเลือดเปื้อนออกมาหรือไม่ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายจะมีก้อนริดสีดวงโป่งพองโผล่ออกมาขณะอุจจาระ จนทำให้รู้สึกเจ็บหรือเดินไม่สะดวกได้ เนื่องจากการเสียดสีที่เกิดขึ้นขณะอุจจาระ รวมไปถึงอาการร่วมอื่นๆ เช่น เวียนศีรษะ หรือหน้าซีด โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หากมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
ประเภทของการผ่าตัดริดสีดวงทวาร
การเย็บผูกริดสีดวงทวารด้วยเทคนิค HAL-RAR
การผ่าตัดริดสีดวงทวารด้วยเทคนิค HAL-RAR เป็นการนำคลื่นเสียงความถี่สูงในการหาตำแหน่งของเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวริดสีดวงทวารหนัก หลังจากนั้นแพทย์จะทำการเย็บผูกหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวริดสีดวงนี้ไว้ เพื่อที่จะลดความดันเลือดและทำให้หัวของริดสีดวงมีขนาดเล็กลงและหายไปในที่สุด โดยไม่ต้องตัดเนื้อเยื่อออกให้ทรมานแต่อย่างใด ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยบาดเจ็บน้อย และช่วยลดอัตราการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อหูรูด อีกทั้งยังใช้เวลาในการพักฟื้นเพียง 2-3 วันเท่านั้นก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
วิธีการดูแลตนเองหลังผ่าตัดริดสีดวงทวาร
หลังการรักษาริดสีดวงทวารอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บที่บริเวณลำไส้ตรงและทวารหนักได้ แต่การดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์หลังการผ่าตัดก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งวิธีการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี ได้แก่
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ
- รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก หรือ ผลไม้ เพื่อให้สามารถขับถ่ายได้อย่างสะดวก
- นอนหงาย นอนตะแคง หรือนอนคว่ำ เพื่อลดอาการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด
- ดื่มน้ำให้ได้ 8-9 แก้ว ต่อวัน
- หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ และอาหารรสจัด
อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับนวัตกรรมรักษาริดสีดวงแบบไร้แผลและไม่เจ็บ
HOTLINE 02 734 0000
การนัดหมายและติดต่อสอบถาม
ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป
โทร. (02) 734 – 0000 ต่อ 4500, 4501
- Readers Rating
- Rated 3.6 stars
3.6 / 5 (Reviewers) - Very Good
- Your Rating