หลายคนชอบคิดว่า กระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วมวลกระดูกของคนเราจะเริ่มลดลงอย่างช้า ๆ ตั้งแต่ช่วงอายุ 30 – 40 ปี และจะเริ่มลดลงเรื่อย ๆ ตามวัยที่มากขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้กระดูกพรุนหรือมวลกระดูกลดลง มีดังนี้
- เพศ : พบโรคกระดูกพรุนในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะหลังหมดประจำเดือน เพราะไม่มีฮอร์โมนเพศหญิงช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูกอย่างเพียงพอ ทำให้มวลกระดูกสลายเร็วกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ชายสูงวัยที่กระดูกบางก็เนื่องจากฮอร์โมนเพศที่ลดลงตามวัย
- ปริมาณแคลเซียม : ได้รับสารอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ หรือได้รับอาหาร รวมถึงยาบางชนิดที่ทำให้ขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียมในลำไส้
- วิตามินดี : การขาดวิตามินดี หรือไม่ค่อยได้รับแสงแดดที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ก็ทำให้กระดูกพรุนได้ เพราะวิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเพื่อไปสร้างมวลกระดูก
- คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ : บุหรี่ ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากบริโภคเป็นประจำหรือมากเกินไป จะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้น้อยลง และทำให้กระดูกพรุน
- ฮอร์โมนผิดปกติ : ระดับฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนพาราไทรอยด์ผิดปกติ
- ยาที่มีสเตียรอยด์ : หากรับประทานยาสเตียรอยด์ในปริมาณมากและเป็นเวลานานก็มีผลต่อมวลกระดูกได้
- รูปร่างผอม : ร่างกายผอมเกินไปหรือมีน้ำหนักตัวน้อยจนเกินไป
- ขาดการออกกำลังกาย
จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่มีผลต่อมวลกระดูกและทำให้กระดูกพรุน มีทั้งปัจจัยที่เลี่ยงได้และเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ข้อไหนที่เราหลีกเลี่ยงได้หมอแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่วัยเสี่ยงกระดูกพรุน และข้อไหนที่เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราก็ควรเตรียมตัวตั้งรับไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เช่นกัน
ติดตามสาระความรู้เรื่องกระดูกพรุนได้ที่ กระดูกพรุนรู้ทันก่อนหัก
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์โรคกระดูกและข้อ
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2298, 2299
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating