เมื่อตรวจเจอว่าเป็น เนื้องอกมดลูก อย่าเพิ่งตกใจจนทำอะไรไม่ถูก เพราะในทางการแพทย์มีทางเลือกในการรักษาหลายวิธี
1. ติดตามอาการและขนาดของก้อน – ในเนื้องอกที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน และเนื้องอกไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นอันตราย สามารถติดตามอาการโดยการอัลตราซาวน์เป็นระยะ ทุก 3-6 เดือนได้
2. ใช้ยาเพื่อคุมอาการ เช่น ยาคุมกำเนิด เพื่อลดปริมาณประจำเดือน ลดการปวดประจำเดือน แต่จะไม่ลดขนาดของก้อนเนื้องอก รูปแบบยาคุมกำเนิด อาจเป็นยาเม็ดชนิดฮอร์โมนต่ำ ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝัง หรือการใส่ห่วงคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมน
3. ยากินลดขนาดของเนื้องอก ชื่อว่า Ulipristal (ยูริพริสตอล) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน สามารถลดอาการประจำเดือนออกมากได้ถึง 90% เพิ่มความเข้มข้นเลือด และลดขนาดของเนื้องอกได้ประมาณ 20%
4. ยาฉีดกลุ่ม GnRH agonist เป็นยาฉีดเพื่อลดขนาดและเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้องอก ออกผลต่อฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ที่จะมาควบคุมฮอร์โมนจากรังไข่อีกที แต่ไม่ควรใช้ต่อเนื่องนานเกิน 6 เดือน เพราะจะทำให้มวลกระดูกบางลงได้ ดังนั้นจึงมักใช้ยานี้เพื่อลดขนาดเนื้องอกก่อนที่จะผ่าตัด เพื่อลดการเสียเลือดตอนผ่าตัด
5. การผ่าตัด อาจเป็นการตัดแต่เนื้องอก หรือการผ่าตัดมดลูก
ในคนที่ยังต้องการมีบุตร แพทย์จะพยายามเก็บมดลูกไว้ โดยตัดแค่เนื้องอกออก
แต่บางครั้งเนื้องอกมีขนาดใหญ่ อยู่ในตำแหน่งที่เลือดออกได้ง่าย การผ่าตัดเนื้องอกจะมีความเสี่ยง แพทย์อาจให้คำแนะนำเรื่องการตัดมดลูก
เทคนิคในการผ่าตัดนั้น ทำได้ทั้งการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง และการผ่าตัดส่องกล้อง
การผ่าตัดส่องกล้องมีข้อดี คือ แผลเล็ก เจ็บแผลน้อย และใช้เวลาในการพักฟื้นน้อยกว่า
การผ่าตัดส่องกล้อง ยังมีทั้งการส่องกล้องทางหน้าท้อง และส่องกล้องแบบไม่มีแผล (NOTES) แต่ละวิธีเหมาะสมกับผู้ป่วยแตกต่างกันไป จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้ผ่าตัด เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมกับตัวเอง
6. การรักษาอื่น ๆ เช่น การอุดเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้องอก เป็นวิธีจำเพาะ ต้องทำร่วมกับรังสีแพทย์ และไม่สามารถทำได้ทุกกรณี
ติดตามสาระความรู้เรื่องสตรีได้ที่ รู้ทันโรคสตรี กับหมอจูรี่
#ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์สุขภาพสตรี https://bit.ly/2J1P3MV
โทร. 02-734-0000 ต่อ 3200, 3204
- Readers Rating
- Rated 4.9 stars
4.9 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating