ปวดหลัง เรื้อรัง ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงวัยเพียงเท่านั้น เพราะพบได้มากขึ้นในทุกช่วงอายุ โดยพบว่ากลุ่มช่วงอายุที่มีอัตราการเกิดภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมสูง ได้แก่กลุ่มคนอายุน้อยที่มีการทำกิจกรรมหนักๆ หรือคนสูงอายุที่ร่างกายมีความเสื่อมโทรมตามวัย
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม ได้แก่
- การสึกหรอตามกิจกรรมและการใช้งาน เช่นนั่งนานๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ นั่งขับรถเป็นระยะทางไกลๆเป็นประจำ การยกของหนัก
- การสูบบุหรี่ โดยมีผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า ในคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ จะพบความเสื่อมของหมอนรองกระดูกได้มากกว่าคนปกติ
- ความเสื่อมของหมอนรอง จากอายุที่มากขึ้น
หากพบว่ามีอาการปวดเรื้อรังบริเวณเอว ในลักษณะอาการปวดตื้อๆ และอาจร้าวลงมาที่บริเวณหลังและสะโพก อาการเหล่านี้เป็นอาการที่ต้องสงสัยภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม ควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เพื่อแพทย์จะทำการซักถามอาการและการตรวจร่างกายอย่างละเอียด รวมไปถึงอาจจะมีการทำการตรวจทางรังสีสิทยาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่แม่นยำ อันจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมมีตั้งแต่ การใช้ยาและกายภาพบำบัด ไปจนถึงการผ่าตัด ขึ้นกับระดับความรุนแรงของความเสื่อม
ซึ่งหากจำเป็นจะต้องผ่าตัด ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งแพทย์สามารถผ่าตัดผ่านรูเปิดขนาดเพียง 2-2.5 เซนติเมตร ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงมาก ลดอาการบาดเจ็บ ลดระยะเวลาในการพักฟื้น สามารถคืนคุณภาพชีวิตเดิมให้ผู้ป่วยได้ในเร็ววัน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0390 ต่อ 5500, 5550
- Readers Rating
- Rated 3.8 stars
3.8 / 5 (Reviewers) - Excellent
- Your Rating