โรคนิ้วล็อก มักมีอาการเจ็บที่ฝ่ามือ บริเวณใต้ข้อต่อโคนนิ้วมือ หากเป็นมากขึ้นอาจมีอาการสะดุดเวลากำหรือเหยียดนิ้วมือได้ โดยอาการของโรคมักพบมากหลังจากตื่นนอนตอนเช้า หรือตอนที่ใช้งานมือหนัก ๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
ความรุนแรงของโรคนิ้วล็อก แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้
- มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ
- มีอาการสะดุดเวลากำหรือเหยียดนิ้วมือ แต่ยังสามารถเหยียดนิ้วได้เอง
- กำมือแล้วเกิดอาการล็อก ไม่สามารถเหยียดนิ้วได้เอง ต้องใช้มือมาช่วยง้างออก
- ไม่สามารถกำมือได้สุด และอาจมีข้อนิ้วมืองอผิดรูปร่วมด้วย
สำหรับการรักษาโรคนิ้วล็อก ปัจจุบันแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษ พร้อมด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ โดยฉีดยาชาที่มือแล้วสอดเข็มเข้าไปบริเวณโคนนิ้วที่มีอาการนิ้วล็อก จากนั้นใช้ปลายเข็มสะกิดปลอกหุ้มเอ็นนิ้ว ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่รัดเส้นเอ็นให้ขาดออกจากกันเหมือนการผ่าตัดปกติ ซึ่งจะใช้เวลาเพียง 5 นาที และสามารถโดนน้ำได้ตามปกติหลังครบ 24 ชั่วโมง ในขณะที่การผ่าตัดแบบเดิมต้องเปิดแผล ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 ชั่วโมง และห้ามแผลโดนน้ำนาน 10 – 14 วัน ทั้งนี้ นิ้วที่ผ่านการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวแล้วจะไม่กลับมาเป็นซ้ำ แต่หากยังไม่หยุดพฤติกรรมเสี่ยงก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดนิ้วล็อกกับนิ้วอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้รักษา
หากมีอาการนิ้วล็อกอย่าปล่อยทิ้งไว้จนเรื้อรัง เพราะอาจทำให้ปลอกเส้นเอ็นเสียหายถาวร แม้จะรักษาด้วยการผ่าตัดก็อาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2972, 2973
- Readers Rating
- Rated 3.7 stars
3.7 / 5 (Reviewers) - Very Good
- Your Rating