โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (Lumbar Disc Herniation) เป็นโรคที่พบบ่อยในคนที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม เพราะเมื่ออายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกซึ่งเป็นหนึ่งในข้อต่อของกระดูกสันหลังจะเริ่มเสื่อมตามอายุ โดยส่วนมากจะเริ่มที่อายุประมาณ 25-30 ปี ซึ่งบางคนเมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม จะมีเนื้อเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกฉีกแยกจนทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาและอาจกดทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหลังนำมาก่อนแล้วตามด้วยอาการปวดหลังร้าวลงขา และอาจมีอาการชา อ่อนแรง หรือขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย โดยอาการมักสัมพันธ์กับกิจกรรมและการใช้งานของหลัง
สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
- การใช้งานและกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ เช่น ยกของหนักผิดท่าบ่อย ๆ ,นั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน
- น้ำหนักตัวมากเกินไป
- เกิดอุบัติเหตุจนกระดูกสันหลังบาดเจ็บ
การรักษา
การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนแพทย์จะใช้ยาเพื่อควบคุมอาการปวดทำกายภาพบำบัด หรือฉีดยาเข้าไปในโพรงเส้นประสาทหลังเพื่อลดอาการปวดร้าวลงขา มักได้ผลดีในผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มมีอาการและยังไม่มีความผิดปกติของระบบประสาท แต่หากรักษาด้วยวิธีข้างต้นไม่เป็นผลหรือผู้ป่วยมีอาการกดทับต่อระบบประสาท เช่น กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ควบคุมปัสสาวะหรือการขับถ่ายไม่ได้ แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติและ #การผ่าตัดแบบส่องกล้อง โดยการผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope จะช่วยลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ แผลเล็ก ทำให้อาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดน้อยลง ลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วย ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 5500
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating