เหนื่อยง่าย ใจสั่น วูบ หน้ามืด หมดสติบ่อย หลายครั้งที่ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่รู้ตัวเองว่าเป็นโรคดังกล่าว และมาถึงมือแพทย์ด้วยอาการหมดสติหรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตแบบกะทันหันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดช้า (Sinus node disease และ Atrioventricular block : AV block หรือ Heart block) คือ การที่หัวใจห้องบนไม่ทำงานหรือห้องบนและห้องล่างเต้นไม่สัมพันธ์กัน จนทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 50 ครั้งต่อนาที ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวมาก่อนว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดช้า โดยมากจะพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือมาพบแพทย์ด้วยอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น หน้ามืด วูบ เป็นลม หมดสติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตแบบกะทันหัน
เหนื่อยง่าย ใจสั่น วูบ หน้ามืด หมดสติบ่อย การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดช้า
“การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดช้าสามารถทำได้หลายวิธี แพทย์จะเริ่มตั้งแต่การซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : EKG) ตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพา 24 – 48 ชั่วโมง (24 – 48 hour Holter Monitoring) หรืออาจต้องใช้วิธีการตรวจหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ (Title Table Test) หากมีภาวะเป็นลมหมดสติ ทั้งนี้วิธีการตรวจต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์และความรุนแรงของอาการที่ผู้ป่วยเป็น”
นายแพทย์ปริวัตร กล่าว ทั้งนี้ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดช้า หากตรวจพบช้าหรือผู้ป่วยปล่อยอาการทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ง่าย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 0-2734 0000 ต่อ 5300
- Readers Rating
- Rated 3.5 stars
3.5 / 5 (Reviewers) - Very Good
- Your Rating