



ตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำช่วยป้องกันได้ เช่น
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง(ECHO)


สาเหตุของหัวใจวาย
- หลอดเลือดเสื่อมตามวัย
- มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
- น้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือโรคอ้วน – สูบบุหรี่เป็นประจำ
- ภาวะเครียด – ไม่ออกกำลังกาย
- โรคทางพันธุกรรมบางชนิดหรือมีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคหัวใจ



อาการของภาวะหัวใจวาย
- เจ็บหรือแน่นบริเวณกลางหน้าอกเหมือนมีอะไรกดทับ จนปวดร้าวไปที่คอ ขากรรไกร ไหล่หรือแขนซ้าย
- เหงื่อออก ตัวเย็น
- ปวดจุกลิ้นปี่ คลื่นไส้ อาเจียน
- ใจสั่น หายใจหอบเหนื่อย
- หน้ามืด หมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน



การรักษาภาวะหัวใจวาย
- ให้ยาละลายลิ่มเลือด
- ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยัน (stent)
- ผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ
ชั่วโมงทองของผู้ป่วยหัวใจวาย มีโอกาสรอดชีวิตหากได้รับการรักษาภายใน 60-90 นาที การรักษาภาวะหัวใจวายทุกขั้นตอนควรทำให้แล้วเสร็จภายใน 60 – 90 นาที เพื่อเปิดหลอดเลือดที่อุดตันให้เร็วที่สุด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ป่วยหรือการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในอนาคต อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสการกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงคนปกติมากที่สุดของผู้ป่วยด้วย หรือ หากมีอาการที่บ่งบอกถึงภาวะหัวใจวาย ผู้ป่วยควรรีบบอกคนรอบข้างและมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 5300
- Readers Rating
- Rated 4.9 stars
4.9 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating