หลายคนที่เป็นนิ้วล็อก ส่วนใหญ่ไม่อยากผ่าตัดเปิดแผล เพราะกลัวจะต้องใช้เวลาพักมือนาน เลยปล่อยไว้ไม่รักษา ซึ่งโรคนิ้วล็อก ผู้ป่วยจะมีอาการเริ่มต้นเจ็บบริเวณฐานนิ้ว ขยับนิ้วมือแล้วเจ็บ การงอและการเหยียดนิ้วฝืด สะดุด จนเกิดอาการล็อค เหยียดนิ้วไม่ออกหรืองอนิ้วไม่เข้า นิ้วแข็งบวมชา นิ้วเกยกัน กำมือไม่ลง นิ้วโก่งงอ หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา นิ้วก็จะยึดติดแข็งจนใช้งานไม่ได้
การรักษาโรคนิ้วล็อกในระยะแรกหากผู้ป่วยมีอาการเพียงเจ็บฐานนิ้ว ควรพักการใช้งานมือที่มีอาการนิ้วล็อก แช่น้ำอุ่นรับประทานยา เพื่อลดการอักเสบ ลดบวม ลดปวด การกายภาพบำบัด การใช้อุปกรณ์ดามนิ้วมือ ใช้ความร้อนประคบ ออกกำลังกายเหยียดนิ้ว
แต่ถ้ามีอาการเป็นมากขึ้น จะพิจารณาการรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่จะเป็นการรักษาแบบชั่วคราวและมีข้อจำกัดคือไม่ควรฉีดยาเกิน 2-3 ครั้ง ต่อ 1 นิ้วที่เป็นโรค
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นในระยะรุนแรงมีอาการยึดติดที่รุนแรง จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันไม่จำเป็นต้องผ่าให้เจ็บเหมือนอดีต เพราะมีวิธีการรักษาด้วยวิธี “สะกิดนิ้วล็อก” โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษ พร้อมด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ โดยการตรวจประเมินเส้นเอ็นและปลอกเส้นเอ็นของนิ้วที่มีอาการ หลังจากที่ทราบตำแหน่งของปลอกเส้นเอ็นที่เป็นสาเหตุแล้วหลังจากนั้นจะฉีดยาชาที่มือแล้วสอดเข็มเข้าไปบริเวณโคนนิ้วที่มีอาการ นิ้วล็อก จากนั้นใช้ปลายเข็มสะกิดปลอกหุ้มเอ็นนิ้ว ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่รัดเส้นเอ็นให้ขาดออกจากกันเหมือนการผ่าตัดปกติ ซึ่งจะใช้เวลาเพียง 5 นาที และสามารถโดนน้ำได้ตามปกติหลังครบ 24 ชั่วโมง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โทร. 02-734-0000 ต่อ 2972, 2973
- Readers Rating
- Rated 4.4 stars
4.4 / 5 (Reviewers) - Outstanding
- Your Rating