ข้อไหล่ติดเกิดจากช่องในข้อไหล่แคบลง เพราะเยื่อหุ้มและแคปซูลในข้อไหล่หนาตัวเป็นพังผืดและตึงขึ้นรอบ ๆ ทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลง สังเกตได้ด้วยการยกแขนขึ้นให้สุดโดยที่ใบหน้าและลำคอตั้งตรง หากแขนไม่สามารถแนบหูได้ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคข้อไหล่ติด ซึ่งพบบ่อยในวัยกลางคนโดยเฉพาะผู้หญิง มักจะมีอาการในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือแม้แต่คนที่ต้องใส่อุปกรณ์สะพายไหล่เป็นเวลานาน รวมถึงคนที่ต้องอยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลานานหลังจากได้รับบาดเจ็บหรือผ่าตัดบริเวณข้อไหล่ เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์ เบาหวาน พาร์กินสัน หัวใจและหลอดเลือด ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
ข้อไหล่ติดแบ่งเป็น 3 ระยะ
- ระยะอักเสบ: ปวดและตึงทั่วข้อไหล่ แม้ยกไหล่เพียงนิดเดียว จะปวดมากในเวลากลางคืนหรือขณะนอนทับข้อหัวไหล่ด้านที่มีปัญหา ระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-9 เดือน สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาลดการอักเสบและปวด ฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ และกายภาพบำบัด พร้อมกับพักการใช้งานแขน
- ระยะข้อยึดติด: อาการปวดจะเริ่มดีขึ้นแต่การเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะลดลงอย่างชัดเจน เริ่มมีปัญหาการใช้งานข้อไหล่ในชีวิตประจำวัน ระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 4-12 เดือน แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องข้อไหล่เพื่อตัดเนื้อเยื่อพังผืดออก จากนั้นกายภาพบำบัดต่ออีกประมาณ 2 เดือน
- ระยะคลายตัว: การเคลื่อนไหวของข้อไหล่เริ่มดีขึ้น ปวดน้อยลง แต่อาการปวดและตึงข้อไหล่อาจคงอยู่นาน 2 – 3 ปี ซึ่งจะก่อให้เกิดความทรมานและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์กระดูกและข้อ
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2298
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating