ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ และเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อชุดเดิมซ้ำๆ หรืออยู่ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการจากกล้ามเนื้อที่ล้า หดเกร็ง จนบางครั้งคลำพบก้อน แข็งในมัดกล้ามเนื้อ หรือมีจุดกดเจ็บ (Trigger point)
โดยพบได้บ่อยในกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย ต้นคอ บ่า และสะบักหากละเลย ปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษา สามารถนำไปสู่โรคที่รุนแรงมากขึ้น เช่น กระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาท โดยอาการของออฟฟิศซินโดรมที่พบบ่อย ได้แก่
- ปวดตึง ปวดหนักๆ ที่ท้ายทอย ต้นคอ บ่า สะบัก หรือเอว และสะโพก
- อาการปวดร้าวขึ้นท้ายทอย ขมับ กระบอกตา บางครั้งทำให้เข้าใจผิดว่าเป็น #โรคไมเกรน หรือปวดร้าวลงต้นขา คล้าย #กระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมกดทับเส้นประสาท
- อาการชา เย็นวูบวาบ คลื่นไส้ มึนศีรษะ
การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม ยาไม่ใช่การรักษาหลักดังเช่น โรคอื่น แต่เป็นการทำกายภาพบำบัดอย่างถูกวิธี ประกอบด้วย การยืดกล้ามเนื้อ ควบคู่กับการใช้เครื่องมือทางกายภาพ เช่น
- เลเซอร์ความเข้มสูง
- เครื่องกระตุ้นแม่เหล็ก (PMS)
- เคลื่อนกระแทก (Shock wave therapy) สิ่งสำคัญคือควรมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรคจากสาเหตุอื่น และค้นหาต้นเหตุ
โดยแพทย์จะให้คำแนะนำอย่างละเอียดในการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เทคนิคที่ถูกต้องในการทำงาน การยืดกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี นอกจากนี้หัวใจสำคัญและถือเป็นความท้าทายในการรักษาคือ ทำอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นใหม่ ไม่สะสมเรื้อรังจนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โทร. 02-734-0000 ต่อ 2972, 2973
- Readers Rating
- Rated 4.3 stars
4.3 / 5 (Reviewers) - Outstanding
- Your Rating