เปรียบเทียบ 3 วิธีลดความอ้วน กินยา VS ผ่าตัดกระเพาะ VS ใส่บอลลูน

บทความสุขภาพ

เปรียบเทียบ 3 วิธีลดน้ำหนัก กินยา VS ผ่าตัดกระเพาะ VS ใส่บอลลูน

Share:

“อ้วน” คำสั้น ๆ ที่นำมาซึ่งปัญหาสุขภาพมากมาย และอาจทำให้หลายคนเกิดความไม่มั่นใจในรูปร่าง ปัจจุบันจึงมีวิธีลดความอ้วนหลากหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน

กินยาลดความอ้วน

การกินยาลดความอ้วน เป็นวิธีลดความอ้วนแบบทางลัดยอดนิยม เพราะสามารถลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียคือ มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงสูงและอาจทำให้เกิดอันตราย โดยเฉพาะยาลดความอ้วนที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดอาการใจสั่น คลื่นไส้ มึนศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว และเมื่อหยุดกินยามักจะกลับมาน้ำหนักเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

จุดประสงค์ของการผ่าตัดกระเพาะอาหารคือควบคุมพฤติกรรมการกิน เนื่องจากกระเพาะเล็กลงจะทำให้อิ่มเร็วขึ้น กินได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดกระเพาะอาหารจะทำได้เฉพาะผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน แต่ใช้วิธีลดความอ้วนวิธีอื่น ๆ มาแล้วไม่ได้ผล เช่น ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือกินยาลดความอ้วน ข้อควรระมัดระวังสำหรับวิธีลดความอ้วนวิธีนี้คือ มีความเสี่ยงเช่นเดียวกันกับการผ่าตัดอื่น ๆ ดังนั้น คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัย

ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารเป็นวิธีลดความอ้วนที่ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องกินยา ทำได้ไม่ยุ่งยาก วิธีการของวิธีลดความอ้วนนี้คือ ใช้บอลลูนลดน้ำหนักที่เป็นซิลิโคนใส่เข้าไปในกระเพาะอาหาร โดยแพทย์เฉพาะทางจะส่องกล้องเข้าไปทางหลอดอาหาร เริ่มแรกบอลลูนจะมีขนาดเล็ก จนเมื่อถึงกระเพาะอาหารจะค่อย ๆ ใส่น้ำที่ผสมกับสารสีฟ้าชื่อว่าเมธิลีนบลู (Methylene Blue) เข้าไปในบอลลูน ประมาณ 400-500 ซีซีเพื่อให้ขยายตัวออก โดยแพทย์จะฉีดยาชาและยานอนหลับให้แก่คนไข้ในระหว่างดำเนินการ

วิธีนี้ จะใช้เวลาพักฟื้นเร็วกว่าวิธีการผ่าตัด เนื่องจากไม่มีแผล ใช้เวลาในการดำเนินการไม่นาน ประมาณ 15 – 30 นาที และสามารถปรับขนาดของบอลลูนได้ตามความเหมาะสมของคนไข้ ซึ่งจะใช้เวลาในการใส่บอลลูนนานประมาณ 1 ปี สามารถลดน้ำหนักได้เฉลี่ย 24 กิโลกรัม โดยที่ไม่กลับมาโยโย่อีก เนื่องจากในระหว่างที่ใส่บอลลูน จะมีการปรับพฤติกรรมการกินไปในตัว อย่างไรก็ดี วิธีนี้ในระยะแรกอาจจะมีอาการคลื่นไส้เล็กน้อย หรือจุกเสียดในสัปดาห์แรก และจะค่อย ๆ ทุเลาจนหายไปในที่สุด

ตารางเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการลดน้ำหนักทั้ง 3 วิธี

วิธีลดน้ำหนัก ข้อดี ข้อเสีย
กินยาลดความอ้วน
  • เห็นผลรวดเร็ว
  • ใจสั่น คลื่นไส้ มึนศีรษะ
  • อาจมีอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตในกรณีที่กินในปริมาณที่ไม่เหมาะสมหรือมีอาการแพ้
  • มีโอกาสโยโย่สูง
ผ่าตัดกระเพาะอาหาร
  • ช่วยให้กระเพาะอาหารเล็กลง
  • ลดความอยากอาหาร อิ่มเร็ว
  • จำกัดปริมาณอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีผลข้างเคียงเหมือนกับการผ่าตัดทั่วไป
  • ไม่เหมาะกับคนที่มีโรคประจำตัว
ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
  • ลดความอยากอาหาร อิ่มเร็ว
  • จำกัดปริมาณอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้เวลาในการดำเนินการและพักฟื้นเร็ว
  • มีอาการคลื่นไส้เล็กน้อยในสัปดาห์แรก
  • ไม่เหมาะกับสตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีความผิดปกติของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีโรคประจำตัวรุนแรง

แชร์ประสบการณ์ ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารของคุณ Yin Yin Aye

คุณ Yin Yin Aye ตัดสินใจมาปรึกษาการลดน้ำหนักด้วยวิธีการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร เนื่องจากมีภาวะน้ำหนักเกิน ก่อนที่จะทำการรักษามีน้ำหนักมากถึง 90-100 กิโลกรัม ส่งผลต่อสุขภาพและความมั่นใจในการใช้ชีวิต ซึ่งก่อนหน้านี้เคยกินยาลดน้ำหนัก และลองสารพัดวิธี แต่ไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

คุณ Yin Yin Aye เล่าว่า ก่อนหน้านี้รู้สึกน้อยใจ อยากลองเสื้อผ้า คนขายก็ไม่ให้ลอง เพราะกลัวเสื้อจะขาด เลยตัดสินใจหาวิธีลดความอ้วน เริ่มจากการกินยาลดความอ้วน จากนั้นก็มีคนรู้จักแนะนำให้มาใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารที่โรงพยาบาลเวชธานี

“หลังจากใส่บอลลูนแล้ว รู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อยในตอนแรก แต่พอผ่านไปสักพักก็หาย ไม่ได้รู้สึกทรมาน หรือใจสั่นเหมือนตอนที่กินยาลดน้ำหนัก กินอาหารได้น้อยลง จากแต่ก่อนกินข้าวมื้อละ 2 จาน ตอนนี้กินได้แค่ 5 ช้อน แถมยังใช้ชีวิตได้ตามปกติ น้ำหนักลดลงจากเกือบ 100 กิโลกรัม ลดลงเหลือแค่ 55-57 กิโลกรัม จนแทบจะจำตัวเองเมื่อก่อนไม่ได้ ชีวิตหลังจากใส่บอลลูนแล้วดีขึ้นมาก สามารถเข้าไปลองเสื้อผ้าได้อย่างสบายใจ”

ฟังประสบการณ์ลดความอ้วนด้วยวิธีใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

สำหรับผู้ที่สนใจลดความอ้วน โรงพยาบาลเวชธานีมีทีมแพทย์เฉพาะทางพร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีลดความอ้วนที่เหมาะสมและปลอดภัย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเวชธานี

โทร. 02-734-0000 ต่อ 2960

  • Readers Rating
  • Rated 3.5 stars
    3.5 / 5 (4 )
  • Your Rating