ข้อไหล่ติดเกิดจากช่องในข้อไหล่แคบลง เพราะเยื่อหุ้มและแคปซูลในข้อไหล่หนาตัวเป็นพังผืดและตึงขึ้นรอบ ๆ ทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลง สังเกตได้ด้วยการยกแขนขึ้นให้สุดโดยที่ใบหน้าและลำคอตั้งตรง หากแขนไม่สามารถแนบหูได้ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคข้อไหล่ติด
กลุ่มเสี่ยงของโรคข้อไหล่ติด มีดังนี้
- ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่ใส่อุปกรณ์สะพายไหล่เป็นเวลานาน
- ผู้ป่วยที่ต้องอยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลานานหลังจากได้รับบาดเจ็บหรือผ่าตัดบริเวณข้อไหล่ เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม
กลุ่มโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เสี่ยงโรคข้อไหล่ติด
- ผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยพาร์กินสัน
- ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
ดังนั้น ถ้าพบว่ามีอาการปวดตึงบริเวณข้อไหล่ หรือการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลง ควรมาพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวางแผนรักษาให้เหมาะกับระยะของโรคข้อไหล่ติด ซึ่งการรักษาจะมีตั้งแต่การรับประทานยา ฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ร่วมกับกายภาพบำบัด หากไม่ดีขึ้นแพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องข้อไหล่เพื่อตัดเนื้อเยื่อพังผืดออก
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์กระดูกและข้อ โทร. 02-734-0000 ต่อ 2298
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating