หินปูนเต้านม ชนิดไม่อันตราย - Vejthani Hospital

บทความสุขภาพ

หินปูนเต้านม ชนิดไม่อันตราย

Share:

ผู้หญิงหลายคนที่ได้รับการตรวจแมมโมแกรมแล้วผลออกมาว่าเจอหินปูนในเต้านมทำให้วิตกไปกันว่าจะเสี่ยงมะเร็งเต้านมหรือเปล่า แต่อย่าพึ่งวิตกกันไป เพราะหินปูนในเต้านมนั้นมีหลายประเภทในบทความนี้จะกล่าวถึง หินปูนชนิดที่ไม่อันตรายก่อนค่ะหินปูน (Calcification) ในเต้านมชนิดไม่อันตราย ประกอบด้วย

1. Vascular calcification

  • จะเห็นเป็นเส้นขนานคล้ายรางรถไฟ และมักเป็นเส้นคดเคี้ยวไปมา
  • เป็นหินปูนที่จับตามผนังเส้นเลือดแดงในเต้านม มักเกิดในผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัวเยอะ

2. Popcorn calcification

  • หินปูนขนาดใหญ่รูปคล้ายข้าวโพดคั่ว
  • มักเกิดอยู่ภายในก้อนเนื้องอกในเต้านมชนิดหนึ่ง ที่ไม่ได้รับการผ่าตัด เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดเป็นหินปูนขึ้นมา

3. Secretory calcification

  • ลักษณะเป็นแท่งเล็กทรงกระบอกในทิศทางวิ่งเรียงตัวเข้าหาหัวนม มักเป็นทั้ง2 เต้านม• เกิดจากเคยมีท่อน้ำนมอุดตัน

4. Rim or eggshell calcification

  • เป็นหินปูนทรงกลมที่มีขอบสีขาวหนาคล้ายเปลือกไข่
  • มักเกาะอยู่ที่ผนังของถุงน้ำ, อาจเคยโดนกระเเทกอย่างแรงที่เต้านม หรือเคยฉีดซิลิโคน โดยตรงในเต้านม แล้วทำให้มีการขาดเลือดของไขมันในเต้านม

5. Skin calcification

  • เป็นหินปูนขนาดเล็ก มักพบที่ผิวหนังบริเวณ รักแร้, ราวนม, รอบหัวนม
  • เกิดจากหินปูนในต่อมไขมันที่ผิวหนัง

6. Milk of calcium cysts calcification

  • เป็นหินปูนรูปถ้วยชา หรือรูปครึ่งวงกลม
  • เกิดจากของเหลวภายในท่อน้ำนมมีแคลเซียมสูง

7. Round calcification, punctate calcification

  • เป็นจุดกลมขนาดน้อยกว่า1 มิลลิเมตร มักกระจายทั่วๆทั้ง2 เต้านม
  • เป็นหินปูนภายในต่อมเล็กๆของนม

หินปูนในเต้านมนั้น จะพบจากการตรวจแมมโมแกรมเท่านั้น อาจพบได้ยากจากการคลำเต้านมหรือการตรวจอัลตราซาวด์ ดังนั้นการตรวจคัดกรองแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปีในผู้หญิงที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป จะทำให้ติดตามความเปลี่ยนแปลงของหินปูนได้

ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมให้เป็นแบบ 3 มิติ (Digital breast tomosynthesis) ใช้เวลาถ่ายภาพเอกซเรย์เพียง 3.7 วินาทีต่อท่า ได้ภาพหินปูนที่ละเอียดเเละคมชัดถึงระดับมิลลิเมตร และหากพบว่ามีความผิดปกติในเต้านม สามารถเจาะชื้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยได้ทันที โดยการฉีดยาชา ไม่ต้องดมยาสลบ มีแผลขนาดเล็กเท่ารูเข็ม เจ็บตัวน้อย และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2715, 2716

  • Readers Rating
  • Rated 4.4 stars
    4.4 / 5 (12 )
  • Your Rating