“โรคหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท” หรือที่ชอบเรียกกันว่าหมอนรองกระดูกทับเส้น หลายคนอาจคิดว่าเกิดจากพฤติกรรมการนั่งนาน ๆ ยกของหนักหรือจากอุบัติเหตุ แต่ที่จริงแล้ว แค่ไอ หรือจาม ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นได้เหมือนกัน
เพราะในขณะที่ไอหรือจามจะเกิดความดันในช่องปอดและช่องท้องเพิ่มขึ้น ทำให้หมอนรองกระดูกที่มีหน้าที่รับแรงกระแทกทำงานหนักขึ้น และเกิดแรงดันที่หมอนรองกระดูกแบบฉับพลัน รวมทั้งทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้ ยิ่งถ้ามีโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว อาจทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาทได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา ร่วมกับอาการชา
สำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท ในรายที่อาการไม่รุนแรงหรืออยู่ในระยะเริ่มต้น แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวด กายภาพบำบัด และให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 4 – 6 สัปดาห์ อาจต้องใช้วิธีผ่าตัด โดยปัจจุบันมีเทคนิคการผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope ซึ่งแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กไม่ถึง 1 เซนติเมตร ลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ ส่งผลให้ความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดน้อยลง ใช้ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้น ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวและกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเร็วขึ้น
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 5500
- Readers Rating
- Rated 4.9 stars
4.9 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating