โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease) เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับต้น ๆ พบมากในกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและหญิง โดยเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือด ซึ่งเป็นผลจากโรคประจำตัวบางชนิด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ในผู้ป่วยที่รอดชีวิตก็ยังได้รับผลกระทบจากภาวะแทรกซ้อน ไม่ว่าจะเป็นระดับความรู้สึกตัวลดลง ความจำถดถอย ภาวะซึมเศร้า ตลอดจนกำลังกล้ามเนื้อหายไปจนส่งผลกระทบต่อการช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวัน โดยเฉพาะการกลืนที่ที่ผิดปกติซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยสำลักและมีภาวะโภชนาการที่บกพร่องได้หลังจากรักษาภาวะหลอดเลือดสมองแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้ร่างกายกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด โดยปัญหาเรื่องการกลืนนั้น ได้แก่ กลืนติด กลืนลำบาก กลืนเจ็บหรือจุกแน่นในลำคอ ไอและสำลักขณะรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ
- สามารถตรวจวินิจฉัยผ่านภาพถ่ายรังสี (Videofluoroscopic swallowing study) และส่องกล้องประเมินการกลืน (Fiberoptic endoscopic evaluation of swallowing) พร้อมให้การบำบัดฟื้นฟูด้วยการออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน เช่น ลิ้น ลำคอ บริหารเส้นเสียง เป็นต้น หรือใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าแบบอ่อน (Vital Stim)
- ร่วมกับการฝึกจัดท่าทางในการกลืนที่เหมาะสมโดยแพทย์และนักกิจกรรมบำบัดเฉพาะทาง ซึ่งการฟื้นฟูนี้จะวางโปรแกรมเฉพาะรายผู้ป่วยหลังจากได้รับการตรวจประเมินแล้ว พร้อมด้วยนักโภชนาการที่จะช่วยปรับประเภทอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
- ทีมทันตแพทย์เพื่อช่วยตรวจสุขภาพฟันและเหงือก เพื่อส่งเสริมให้การกลืนมีความปลอดภัยมากขึ้น
โดยการฟื้นฟูนั้น ควรเข้ารับการฝึกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เพื่อให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนของผู้ป่วยกลับมาแข็งแรง สามารถกลืนอาหารได้อย่างปลอดภัยใกล้เคียงปกติมากที่สุด ช่วยเพิ่มภาวะโภชนาการและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยการตรวจวินิจฉัยและการฟื้นฟูการกลืน ยังสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนในกลุ่มโรคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ พาร์กินสัน ภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติปอดอักเสบจากการสำลัก ผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง รวมถึงผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอด้วย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โทร. 02-734-0000 ต่อ 2972, 2973
- Readers Rating
- Rated 4.3 stars
4.3 / 5 (Reviewers) - Outstanding
- Your Rating