- โรคลิ้นหัวใจผิดปกติจากความเสื่อม (Degenerative Valve Disease) มักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจ
- โรคลิ้นหัวใจรูมาติก (Rheumatic Heart Disease) เกิดจากการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส กรุ๊ป เอ ทําให้เกิดไข้รูมาติก ซึ่งมีผลทําลายลิ้นหัวใจของผู้ป่วยในระยะยาว มักจะเริ่มแสดงอาการผิดปกติของหัวใจหลังจากเป็นไข้รูมาติกประมาณ 5-10 ปี
- โรคลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ (Infective Endocarditis) เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและเชื้อโรคไปเกาะกินลิ้นหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยจะเกิดอาการแบบเฉียบพลันและหัวใจวายรุนแรง
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial infarction) อาจส่งผลให้เกินลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วตามมาได้
- ความพิการของลิ้นหัวใจแต่กําเนิด (Congenital Valve Disease) มักจะเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา ทำให้การเจริญเติบโตของลิ้นหัวใจผิดปกติ
“ภาวะความผิดปกติของลิ้นหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่ว โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับลิ้นหัวใจทั้ง 4 ลิ้น ซึ่งผู้ป่วยลิ้นหัวใจมักจะมีอาการเหนื่อยง่าย เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเท้าบวม จำเป็นต้องรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา หากอาการยังไม่รุนแรงแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาและนัดติดตามอาการเป็นระยะ แต่ถ้าอาการรุนแรงก็จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจหรือผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ”
อ่านต่อได้ที่ https://bit.ly/3qy5Soh
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี โทร. 02-734-0000 ต่อ 5300
- Readers Rating
- Rated 3.5 stars
3.5 / 5 (Reviewers) - Very Good
- Your Rating