มะเร็งปอดไม่สูบก็เสี่ยง - Vejthani Hospital

บทความสุขภาพ

มะเร็งปอดไม่สูบก็เสี่ยง

Share:

ถึงแม้ว่าปัจจัยหลักของการเกิด “มะเร็งปอด” จะมาจากการสูบบุหรี่ แต่ใช่ว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่จะไม่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปอดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  • ปัจจัยภายในที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ หรือพันธุกรรม
  • ปัจจัยภายนอกซึ่งสามารถควบคุมได้ เช่น บุหรี่ สารเคมี เป็นต้น

โดยปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปอดได้แก่

  1. บุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 20 ถึง 30 เท่า โดยสารในบุหรี่นั้น มีประมาณ 60 ชนิดที่เป็นสารพิษและก่อมะเร็ง แม้ว่าหยุดสูบไปแล้วแต่ความเสี่ยงก็ยังคงมีอยู่
  2. แร่ใยหิน ซึ่งอยู่ในวัตถุไวไฟ แผ่นกันความร้อนตามอาคาร ฉนวนบางชนิด อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น การสูดดมเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อปอด
  3. ก๊าซกัมมันตรังสี หรือก๊าซเรดอน (Radon) เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น สามารถพบได้ตามแหล่งดินและหินในธรรมชาติ หรือบริเวณที่มีแร่ยูเรเนียม โดยจะระเหยขึ้นมาจากพื้นดิน ก๊าซนี้จะทำอันตรายต่อปอด
  4. สารอื่น ๆ เช่น โครเมียม นิกเกิล ฝุ่นจากอุตสาหกรรมหนัก ไอสารระเหยน้ำมัน เขม่าควันต่าง ๆ รวมถึงมลภาวะทางอากาศที่ไม่บริสุทธิ์
  5. โรคเกี่ยวกับปอด ผู้ที่เป็นวัณโรคปอด จะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดมากขึ้น โดยจะเกิดที่บริเวณรอยแผลเป็นจากเชื้อวัณโรคปอด

ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในรายที่มีปัจจัยเสี่ยง โดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดปริมาณรังสีน้อย (Low Dose CT Scan) ถ้าหากตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากปล่อยให้ ก้อน หรือ จุด ในปอดโตขึ้น มะเร็งจะลุกลาม และยากต่อการรักษา และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์มะเร็ง
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2720

  • Readers Rating
  • Rated 4.9 stars
    4.9 / 5 (5 )
  • Your Rating