- ขนที่นิ้วเท้า เท้า หรือแข้งน้อยลง
- สีผิวบริเวณนิ้วเท้าคล้ำหรือดำขึ้น
- เท้า นิ้วเท้า บวม แดง อุ่น สีผิดปกติ
- คลำชีพจรที่เท้าไม่ได้ ปวดขาหรือเท้าเวลาเดิน
- เท้าข้างที่เป็นแผลจะเย็นกว่าข้างปกติ
- เล็บหนาขึ้น หรือ แตก กร่อน
- มีแผลเรื้อรังที่เท้า แผลบวมแดง มีกลิ่นเหม็น เจ็บหรือระคายเคือง
ผู้ป่วยเบาหวานควรสังเกตเท้าตัวเองอย่างสม่ำเสมอทุกวันและป้องกันไม่ให้เกิดแผล เพราะผู้ป่วยเบาหวานจะมีปัญหาระบบประสาท เช่น เท้าชา รับความรู้สึกได้น้อยลง ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บเมื่อเกิดแผลหรือ แม้แต่ การเป็นเล็บขบ กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวว่าเป็นแผล แผลมักจะลุกลาม เน่าหรือติดเชื้อแล้ว และแผลมักจะหายช้าเนื่องจากมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ จนกลายเป็นแผลเรื้อรังรุนแรงซ้ำเติมมากขึ้น โดยบางรายอาจต้องยอมสูญเสียเท้าเพื่อรักษาชีวิตไว้
ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลและใส่รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันการเกิดแผล รวมทั้งหมั่นสังเกตเท้าอย่างสม่ำเสมอ หากมีแผลเพียงเล็กน้อยควรดูแลแผลให้สะอาด แต่ถ้าอาการรุนแรงขึ้นหรือแผลหายช้าควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาแผลเรื้อรังและแผลเบาหวานที่เท้า
โทร. 02-7340000 ต่อ 4700,4702
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating