กระดูกสะโพกหัก สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในผู้สูงอายุ ทั้งจากความเสื่อมของกระดูก ภาวะโรคกระดูกพรุน รวมถึงการสูญเสียการทรงตัวจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งกระดูกสะโพกหักนี้ถือเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบเข้ารับการรักษาเพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจนนำไปสู่การเสียชีวิต
โดยกระดูกสะโพกหักสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้
- ผู้ป่วยมีอาการปวด ไม่สามารถขยับสะโพกข้างนั้นได้
- ไม่สามารถลงน้ำหนักที่ขาข้างที่ปวดได้
- ลักษณะขาข้างที่สะโพกหักจะสั้นกว่าอีกข้างที่ปกติ
หากพบผู้สูงอายุล้ม ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเองแต่ควรรีบโทรเรียกรถพยาบาล เพื่อให้ทีมเฉพาะทางเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธี เพราะหากเคลื่อนย้ายผิดวิธีอาจทำให้อาการบาดเจ็บรุนแรงขึ้น เช่น กระดูกหักเพิ่ม เนื้อเยื่อบริเวณที่กระดูกหักถูกทำลาย ผู้ป่วยเสียเลือดมากขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นต้น
ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดภายใน 12 – 24 ชั่วโมง หรือเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้หากไม่มีข้อห้ามในการผ่าตัด เพื่อช่วยลดโอกาสเกิดภาวะผู้ป่วยติดเตียง หรือภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อต่าง ๆ รวมถึงช่วยลดอัตราการเสียชีวิต
ซึ่งการผ่าตัดกระดูกสะโพกหักในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบกับความเชี่ยวชาญของแพทย์ จึงช่วยให้ผู้ป่วยสามารถลุกยืนได้ภายใน 6 – 12 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด และกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างตามปกติหรือใกล้เคียงปกติได้มากที่สุด
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ฟื้นฟูข้อเสื่อม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2222
- Readers Rating
- Rated 4.8 stars
4.8 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating