ข้อสะโพกเสื่อมหรือ (osteoarthritis of hip) เกิดขึ้นจากภาวะการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนของส่วนของเบ้าและหัวของข้อสะโพก ทำให้กระดูกมีการเสียดสีกันโดยตรง จนทำให้เกิดอาการปวดและมีการเคลื่อนไหวติดขัด หากอาการรุนแรงขึ้นก็อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การขึ้นลงบันได หรืออาจรู้สึกปวดจนไม่สามารถนอนหลับได้
ซึ่งแนวทางการวินิจฉัยสามารถทราบได้จากการตรวจร่างกายร่วมกับภาพถ่ายทางรังสีข้อสะโพก
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดข้อสะโพกเสื่อม ได้แก่
- ข้อสะโพกที่เคยได้รับอุบัติเหตุมาก่อน เช่น ข้อสะโพกหลุด ข้อสะโพกเคยแตกหัก เป็นต้น
- ภาวะการใช้งานหนักมานาน
- เพศหญิงพบได้มากกว่า
- อายุที่มากขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
- โรคประจำตัวที่มีข้อสะโพกผิดปกติบางอย่างแต่กำเนิด หรือเกี่ยวกับพันธุกรรม โดยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม
อาการของโรคข้อสะโพกเสื่อมเป็นอย่างไร?
- ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวดสะโพก ปวดมากขึ้นเวลาขยับหรือเดิน บางครั้งอาจมีอาการปวดขาหนีบ ปวดต้นขา หรือปวดร้าวไปบั้นท้ายหรือเข่าได้
- รู้สึกข้อสะโพกติดขัดเคลื่อนไหวลำบาก เดินกะเผลก บางครั้งอาจจะมีเสียงเสียงกึกกักเวลาขยับบริเวณข้อ
- บางรายที่มีอาการเสื่อมมากเป็นมานาน อาจจะทำให้ขาข้างที่มีปัญหาสั้นกว่าอีกข้างได้
เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจวินิจฉัย ประเมินความรุนแรงของโรคและเริ่มการรักษา หากเป็นในระยะเริ่มต้น แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาร่วมกับกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง
แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือมีภาวะกระดูกสะโพกเสื่อมรุนแรงหรือข้อสะโพกผิดรูป แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โดยผู้ป่วยสามารถลุกยืนได้ภายใน 6 – 12 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ทั้งนี้ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติที่สุด ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้
กรณีที่ผู้ป่วยขาสั้นยาวไม่เท่ากันจากภาวะข้อสะโพกเสื่อมรุนแรง หลังการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมก็จะสามารถกลับมามีขาที่ยาวเท่ากันกับข้างที่ปกติได้อีกด้วย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ฟื้นฟูข้อเสื่อม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2222
- Readers Rating
- Rated 4.7 stars
4.7 / 5 (Reviewers) - Outstanding
- Your Rating