โรคใหลตาย ในทางการแพทย์เรียกว่า Brugada syndrome เกิดจากรหัสพันธุกรรมกลายพันธุ์ ทำให้การนำแร่ธาตุโซเดียมเข้าออกเซลล์หัวใจผิดปกติ จนเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและนำไปสู่การเสียชีวิตขณะนอนหลับ มักเกิดขึ้นในช่วงกลางคืน โดยเฉพาะช่วงเวลาเช้ามืด ซึ่งโรคใหลตายพบบ่อยในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในช่วงอายุ 20 – 55 ปี และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเป็นโรคที่ไม่มีสัญญาณหรืออาการเตือนและสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
ทั้งนี้ แม้โรคใหลตายจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันการเสียชีวิตขณะหลับได้ ดังนั้น ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคใหลตายหรือเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีประวัติเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุเป็นประจำ ควรเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและตรวจคัดกรองโครโมโซมเพื่อค้นหาโรคทางพันธุกรรม หากพบความเสี่ยงแพทย์จะพิจารณาใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจแบบฝังในร่างกาย เพื่อให้เครื่องทำงานอัตโนมัติเมื่อเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี โทร. 02-734-0000 ต่อ 5300
- Readers Rating
- Rated 4.4 stars
4.4 / 5 (Reviewers) - Outstanding
- Your Rating