สะโพกเสื่อมถือว่าเป็นปัญหาใหญ่เพราะจะทำให้มีอาการปวดรุนแรง เดินลำบาก และจะปวดมากขึ้นในเวลากลางคืน แต่ในผู้ป่วยที่อาการเสื่อมยังไม่รุนแรงสามารถชะลอความเสื่อมและลดอาการปวดได้เบื้องต้น ด้วยการปรับพฤติกรรม ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่มีแรงกดต่อข้อสะโพก เช่น การนั่งพื้น ขึ้นลงบันได กระโดด วิ่ง แต่ควรออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวที่ไม่มีแรงกดแทน เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน
- ลดน้ำหนัก เพราะการที่มีน้ำหนักมากจะทำให้เกิดแรงกดบริเวณสะโพกมากขึ้นได้
- กายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวดและช่วยบริหารการเคลื่อนไหวข้อสะโพก
- การรับประทานยา ลดปวดลดการอักเสบ เพื่อบรรเทาอาการ
- การฉีดยาสเตียรอยด์ เฉพาะในรายที่มีความจำเป็นหรือมีอาการปวดมาก
อย่างไรก็ตามหากปรับพฤติกรรม หรือรักษาด้วยกายภาพร่วมกับรับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีภาวะกระดูกสะโพกเสื่อมรุนแรงหรือข้อสะโพกผิดรูป แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โดยผู้ป่วยสามารถลุกยืนได้ภายใน 6 – 12 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ทั้งนี้ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติที่สุด ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้
กรณีที่ผู้ป่วยขาสั้นยาวไม่เท่ากันจากภาวะข้อสะโพกเสื่อมรุนแรง หลังการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมก็จะสามารถกลับมามีขาที่ยาวเท่ากันกับข้างที่ปกติได้อีกด้วย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ฟื้นฟูข้อเสื่อม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000 ต่อ 2222
- Readers Rating
- Rated 4.1 stars
4.1 / 5 (Reviewers) - Excellent
- Your Rating