หินปูนในเต้านมชนิดที่เสี่ยงมะเร็งเต้านมมีแบบไหนบ้าง - Vejthani Hosptal

บทความสุขภาพ

หินปูนในเต้านมชนิดที่เสี่ยงมะเร็งเต้านมมีแบบไหนบ้าง

Share:

  1. Amorphous calcification – หินปูนที่มีลักษณะคล้ายผงแป้ง
  2. Coarse heterogeneous calcification – หินปูนรูปร่างไม่สม่ำเสมอ ขนาดใหญ่กว่า 0.5 มิลลิเมตร
  3. Pleomorphic calcification – หินปูนที่มีความเข้มและขนาดไม่สม่ำเสมออยู่ปะปนกัน
  4. Fine Linear / Fine linear branching calcification – หินปูนลักษณะคล้ายเส้น หรือคล้ายท่อน้ำนม

หินปูนในเต้านม จะพบจากการตรวจแมมโมแกรมเท่านั้น และพบได้ยากจากการคลำเต้านมหรือการตรวจอัลตราซาวนด์

ดังนั้น การตรวจคัดกรองแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปีในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป จึงเป็นสิ่งจำเป็น

ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมให้เป็นแบบ 3 มิติ (Digital breast tomosynthesis) ใช้เวลาถ่ายเอกเอกซเรย์เพียง 3.7 วินาทีต่อ 1 ท่า ได้ภาพหินปูนที่ละเอียดและคมชัดถึงระดับมิลลิเมตร  หากพบว่ามีความผิดปกติในเต้านม สามารถเจาะชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยได้ทันที โดยการฉีดยาชา, ไม่ต้องดมยาสลบ, มีแผลขนาดเล็ก, เจ็บตัวน้อยและไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2715, 2716

  • Readers Rating
  • Rated 4.3 stars
    4.3 / 5 (7 )
  • Your Rating