3 โรคหมอนรองกระดูกที่มากับอาการปวดหลังที่ทนได้ยาก - Vejthani Hospital

บทความสุขภาพ

3 โรคหมอนรองกระดูกที่มากับอาการปวดหลังที่ทนได้ยาก

Share:

  • การเสื่อมของหมอนรองกระดูก
    โรคนี้พบได้ในผู้สูงวัย หรือคนอายุน้อยที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากๆ ยกของหนัก นั่งท่าเดิมนาน ๆ ขับรถนานๆความเสี่ยงเหล่านี้ทำให้หมอนรองกระดูกค่อยๆมีการทรุดตัวลง ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเหมือนเดิม
    อาการ : มีอาการปวดหลังเรื้อรัง และอาจจะพบอาการตึงเกร็งกล้ามเนื้อเรื้อรังบริเวณคอ บ่า หลังร่วมด้วย
  • หมอนรองกระดูกโป่งนูน
    เป็นภาวะที่พบได้ในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกเสื่อมที่ไม่ได้รับการรักษา หมอนรองกระดูกจะค่อยๆทรุดตัว และมีส่วนที่โป่งนูนยื่นออกมาในโพรงประสาทสันหลัง ก่อให้เกิดการกดทับรากประสาทได้
    อาการ : ปวดบริเวณคอร้าวไปแขน หรือปวดเอวร้าวลงขา โดยส่วนมากในระยะแรกอาการปวดมักจะเป็นๆหายๆตามกิจกรรม
  • หมอนกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท
    เป็นภาวะที่หมอนรองกระดูกชั้นนอกที่เป็นเอ็นหนามีการฉีกขาด ทำให้เนื้่อหมอนรองกระดูกชั้นในที่มีลักษณะเหมือนเจล ปลิ้นเคลื่อนออกมาภายนอก ทำให้เกิดการเบียดทับรากประสาทได้
    อาการ : มักจะมีอาการปวดคอ หรือหลัง และมีอาการปวดร้าวไปที่แขน/ขารุนแรง บางรายอาจจะพบว่ามีอาการชา หรืออ่อนแรงร่วมด้วย

สำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง ในรายที่อาการไม่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวด กายภาพบำบัด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 4 – 6 สัปดาห์ หรือโรคอยู่ในระยะที่รุนแรงแล้วอาจต้องใช้วิธีผ่าตัด โดยปัจจุบันมีเทคนิคการผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope ซึ่งแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร จึงใช้ระยะเวลาพักฟื้นสั้นลง ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวและกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเร็วขึ้น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 5500

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (1 )
  • Your Rating