โรคเท้าแบน หรือ Flat Feet เป็นภาวะที่ผิดปกติบริเวณอุ้งเท้าที่ตรงกลางของเท้าสูญเสียความสูงไป หรือ เรียกว่าแบนติดพื้น เราจะเห็นได้ชัดเมื่อเราเดินลงน้ำหนัก โรคเท้าแบนจะส่งผลให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดและนำไปสู่ความผิดรูปของเท้าและนิ้วเท้าตามมาได้
โรคเท้าแบนสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด ดังนี้
ภาวะเท้าแบนตั้งแต่กำเนิด
ซึ่งภาวะเท้าแบนตั้งแต่กำเนิด ก็จะแบ่งออกมาเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ภาวะเท้าแบนแบบติดแข็ง คือความผิดปกติของกระดูกและข้อภายในเท้าตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้เท้าผิดรูป และอาจมีอาการปวดตามมาได้
ภาวะเท้าแบนแบบยืดหยุ่น ภาวะนี้จะพบได้บ่อยในเด็ก มักจะหายได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น
ภาวะเท้าแบนที่เกิดภายหลัง
จะพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่ค่อย ๆ สูญเสียความสูงของอุ้งเท้า ซึ่งเท้าแบนที่เกิดขึ้นในภายหลัง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น เส้นเอ็นเสื่อมที่เกิดจากภาวะโรคอักเสบข้อเรื้อรัง / การมีเส้นเอ็นพยุงอุ้งเท้าเสื่อม ภาวะข้อเสื่อม รวมไปถึงความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อในเท้าและข้อเท้า ที่เกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจากเส้นประสาทกดทับจากหมอนรองกระดูก
อาการเท้าแบนในระยะแรกเริ่มจะยังไม่มีอาการหนักมากนัก แต่เมื่อโรคมีความรุนแรงมากขึ้น จะรู้สึกเจ็บมากๆ บริเวณรอบๆ ข้อเท้า ซึ่งถ้าหากมีอาการต่อไปนี้ แนะนำให้มาพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อเข้ารับการรักษา
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์กระดูกและข้อ
โทร 02-734-0000 ต่อ 2298
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating