- เป็นภาวะที่เกิดจาก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหนาขึ้น มดลูกโตขึ้น
- กล้ามเนื้อมดลูกอาจหนาขึ้นเป็นก้อน หรือหนาขึ้นทั้งมดลูกก็ได้ ขนาดเป็นได้ตั้งแต่มดลูกโตขึ้นเล็กน้อย จนถึงโตเท่าคนท้อง 7 เดือนก็ยังได้
- ผู้ป่วยที่พบบ่อยมักมีอายุ 35-50 ปี
- อาการที่พบได้บ่อย คือ ประจำเดือนมาเยอะ มานาน, ปวดประจำเดือนมาก, ปวดท้องน้อยเรื้อรัง, ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยอาจมีอาการเดียว หรือหลายอาการพร้อมกันได้
- อาการที่พบ อาจไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของตัวโรค บางคนมดลูกโตมากแต่แทบไม่ปวดประจำเดือน หรือบางคนปวดประจำเดือนมากจนเป็นลม แต่มดลูกโตเป็นก้อนนิดเดียวก็มี
- ไม่ใช่โรคที่อันตรายร้ายแรง ไม่ได้เป็นมะเร็ง แต่ถ้ามีอาการมากก็จะเป็นปัญหาในชีวิต เช่นปวดประจำเดือนมากจนทำงานไม่ได้ ประจำเดือนมามากจนเพลีย ซีด โลหิตจาง
- การวินิจฉัย ทำได้ด้วยการซักประวัติ ตรวจภายใน และการอัลตราซาวน์ หรือการตรวจรังสีอื่นๆ หรือจากการตรวจชิ้นเนื้อหลังการผ่าตัด
- การรักษา มีทั้งการใช้ยาตามอาการ การใช้ยากลุ่มฮอร์โมนเพื่อคุมอาการ และการผ่าตัด
- ในผู้ป่วยแต่ละราย อาจมีการปรับเปลี่ยนการรักษา ตามอาการและการตอบสนองการรักษาของผู้ป่วย ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ถึงแนวทางในการรักษาและการดูแลต่อ
- ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคนี้ แต่สามารถควบคุมหรือรักษาได้ โดยการใช้ยาหรือผ่าตัด ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละรายดังกล่าว
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 3200, 3204
- Readers Rating
- Rated 3.5 stars
3.5 / 5 (Reviewers) - Very Good
- Your Rating