5 ระยะความรุนแรงของโรคไตเรื้อรังและการดูแล - โรงพยาบาลเวชธานี

บทความสุขภาพ

5 ระยะความรุนแรงของโรคไตเรื้อรังและการดูแล

Share:

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปรับการบริโภคอาหาร เพื่อชะลอความเสื่อมและลดโอกาสการดำเนินโรคเร็วกว่าที่ควรจะเป็น โดยสามารถปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารตามระยะโรคได้ดังนี้

ไตเรื้อรังระยะที่ 1 ไตยังทำงานได้ตามปกติ แต่จะเริ่มตรวจพบโปรตีนรั่วในปัสสาวะ หรือพบเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ
ปรับพฤติกรรม : ควรงดสูบบุหรี่ รักษาหรือควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรัง

ไตเรื้อรังระยะที่ 2 หรือโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น ซึ่งไตจะทำงานได้ 60 – 90%
ปรับพฤติกรรม : ผู้ป่วยต้องลดอาหารเค็ม

ไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรคไตเรื้อรังระยะปานกลาง ซึ่งไตจะทำงานได้ 30 – 60%
ปรับพฤติกรรม : ผู้ป่วยต้องจำกัดอาหารประเภทโปรตีน

ไตเรื้อรังระยะที่ 4 โรคไตเรื้อรังระยะรุนแรง ซึ่งไตจะทำงานได้ 15 – 30%
ปรับพฤติกรรม : ผู้ป่วยต้องจำกัดการรับประทานผลไม้

ไตเรื้อรังระยะที่ 5 โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยไตจะทำงานได้น้อยกว่า 15%
ปรับพฤติกรรม : ต้องรักษาด้วยการฟอกไตหรือผ่าตัดปลูกถ่ายไต เพื่อให้ไตทำงานได้ดีขึ้น

ปัจจุบันการฟอกไตและผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีความปลอดภัย รวมทั้งมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวชธานี โทร. 02-734-0000 ต่อ 5021

  • Readers Rating
  • Rated 4.4 stars
    4.4 / 5 (19 )
  • Your Rating