“บุหรี่” นอกจากจะเป็นอันตรายต่อผู้สูบเองแล้ว ผู้ที่ไม่สูบแต่ได้รับควันบุหรี่ก็มีความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายแรงไม่ต่างกัน เพราะบุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด มีสารพิษมากกว่า 250 ชนิด และสารก่อมะเร็งอีกมากกว่า 70 ชนิด ที่พร้อมจะส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่ายกาย และก่อให้เกิดโรค ดังนี้
- หัวใจและหลอดเลือด การสูบบุหรี่เพียงไม่กี่มวนต่อวัน จะส่งผลให้หัวใจและหลอดเลือดเสียหาย สารพิษในบุหรี่ทำให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และหลอดเลือดหัวใจตีบ
- โรคถุงลมโป่งพอง บุหรี่เป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยหอบ หากรุนแรงมากขึ้นอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเหนื่อยมากจนต้องนอนติดเตียง หรือต้องได้รับออกซิเจนตลอดเวลา
- โรคมะเร็ง บุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด ผู้ที่มีความเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดปริมาณรังสีน้อย (Low Dose CT Scan)
- โรคกระดูกพรุน สารพิษนิโคตินเป็นตัวทำลายเซลล์สร้างมวลกระดูก จึงทำให้กระดูกบางลงเร็วขึ้น
- โรคเบาหวาน สารพิษในบุหรี่จะเข้าไปสะสมที่ตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนทำงานได้น้อยลง และส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งก่อให้เกิดโรคเบาหวานตามมาได้
- โรคอื่น ๆ เช่น ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ริ้วรอยก่อนวัยอันควร เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
นอกจากนี้ โทษของการสูบบุหรี่ ยังส่งผลต่อบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะในการเข้าสังคมและการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ยิ่งเลิกบุหรี่เร็วแค่ไหน ก็ยิ่งดีต่อสุขภาพและบุคลิกภาพของตัวเราเองมากขึ้นเท่านั้น
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์อายุรกรรม
โทร.02-734-0000 ต่อ 2200
- Readers Rating
- Rated 4.7 stars
4.7 / 5 (Reviewers) - Outstanding
- Your Rating