โรคไตวายเรื้อรังระยะแรกถึงปานกลาง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการหรือมีอาการแค่เล็กน้อย ซึ่งการจะทราบได้ว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรังก็ต่อเมื่อเข้ารับการตรวจเลือดหรือปัสสาวะเท่านั้น หากผู้ป่วยโรคไตวายไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันเวลา ไตก็จะทำงานเสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง จนท้ายที่สุดจะเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
แพทย์หญิงอำไพวรรณ รุ่งบรรณพันธุ์ อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า โรคไตวายเรื้อรัง คือการที่เนื้อไตถูกทำลายอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ซึ่งเมื่อมาตรวจร่างกายก็อาจไม่พบความผิดปกติ เว้นแต่มีการตรวจเลือด หรือตรวจปัสสาวะ พบความผิดปกติ เช่น ปัสสาวะมีเม็ดเลือดแดงและโปรตีนไข่ขาวปนออกมา จึงจะทราบได้ว่าเป็นโรคไตวายเรื้องรัง
เมื่อการทำงานของไตเหลือเพียง 30% มักจะเริ่มมีอาการแสดงของโรคไตออกมาให้เห็น ระยะต่อมาผู้ป่วยจะถูกวินิจฉัยว่าเป็น “ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย” ก็ต่อเมื่อมีการทำงานของไตน้อยกว่า 15% ในภาวะนี้การทำงานของร่างกายหลายระบบจะเริ่มเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่
การรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ให้ผลได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบันคือ “การปลูกถ่ายไต” เป็นการผ่าตัดนำไตของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคจากผู้บริจาคสมองตายหรือผู้บริจาคที่มีชีวิต มาทำหน้าที่แทนไตเดิมของผู้ป่วย โดยวางไตใหม่ไว้ในอุ้งเชิงกรานแล้วต่อเข้ากับกระเพาะปัสสาวะและหลอดเลือดของผู้ป่วย ถ้าการผ่าตัดประสบความสำเร็จ ผู้ป่วยจะไม่ต้องบำบัดด้วยการฟอกไตอีกต่อไป แต่จำเป็นต้องรับประทานยากดภูมิไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันร่างกายต่อต้านไตใหม่ หรือที่เรียกว่าภาวะสลัดไต โดยวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่ร่างกายแข็งแรง ไม่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะติดเชื้อและไม่มีโรคหัวใจรุนแรง
ขอบคุณที่มาจาก
https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/health/552645
https://moneyandbanking.co.th/2023/47236/
https://plewseengern.com/plewseengern/120170
https://www.naewna.com/lady/741306
https://bit.ly/3JQQSdQ
ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-7340000 ต่อ 5021